กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการ ร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
น.ส.ดารารัตน์ อ่อนมาก

ชื่อโครงการ โครงการ ร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L6895-01-14 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กรกฎาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 64-L6895-01-14 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2563 - 30 กรกฎาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 22,480.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534  มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของคนพิการว่า  เป็นคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง  และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ หมายความว่า การเสริมสร้างสมรรถภาพ หรือการเสริมสร้างความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น โดยอาศัยวิธีทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางสังคม  และการฝึกอาชีพเพื่อให้คนพิการได้มีโอกาสทำงาน หรือดำรงชีวิตในสังคมทัดเทียมคนปกติ มาตรา 15 ให้คนพิการที่ได้รับการจดทะเบียนตามมาตรา 14 ได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยวิธีทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย  ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชนเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยมีญาติหรือผู้ดูแลและคนในชุมชนมีส่วนร่วม เนื่องจากความพิการทางร่างกายและทางจิตส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทำให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ทำให้ขาดการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการ/ทุพพลภาพรวมไปถึงการเป็นภาระต่อญาติหรือผู้ดูแล ในเขตเทศบาลเมืองกันตังมีจำนวนประชากรทั้งหมด 11,862 คน จำนวนผู้พิการทั้งหมด 202 ราย แบ่งตามประเภทความพิการ คือ ทางกาย/การเคลื่อนไหว 96 ราย ทางสติปัญญา 15 ราย ทางการเรียนรู้ 4 ราย ทางการได้ยิน 26 ราย ทางจิต 30 ราย ทางการมองเห็น 23 ราย ออทิสติก 1 ราย  และพิการซ้ำซ้อน 7 ราย มีผู้พิการด้านการเคลื่อนไหวจำนวนหนึ่งไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ต้องมีผู้ดูแล  ซึ่งผู้ดูแลประจำส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกทักษะในการดูแลที่ถูกต้อง  และบางครั้งผู้พิการ/ทุพพลภาพถูกทอดทิ้งอยู่ตามลำพัง  จึงทำให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น กล้ามเนื้อลีบ ข้อติด แผลกดทับ เป็นต้น จากสภาพปัญหาดังกล่าว ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เห็นความสำคัญ จึงจัดโครงการร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และต่อเนื่อง อันจะมีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้พิการ/ทุพพลภาพดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ/ทุพพลภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน ได้รับความรู้ มีเข้าใจในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว
  2. เพื่อให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  3. เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันในการดำรงชีวิตของคนพิการ/ทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
  2. กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 70
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำสุขภาพในชุมชน ได้รับความรู้ และมีเข้าใจในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น
  2. ผู้พิการ/ทุพพลภาพได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับหนึ่ง โดยญาติหรือผู้ดูแลมีส่วนร่วม
  3. ผู้พิการ/ทุพพลภาพได้รับการเยี่ยมบ้านเชิงรุกเป็นการกระตุ้นและสร้างขวัญกำลังใจให้คนพิการ/ทุพพลภาพรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 19 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนอบรม
  • บรรยาย  เรื่อง  หลักการและประโยชน์ของ การฝึกกิจวัตรประจำวัน
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยาย  เรื่อง หลักการและประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้น
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยายพร้อมสาธิต  และฝึกปฏิบัติ  แบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้  4 ฐาน  เรื่อง การจัดท่าทางที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก/การบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ วิธีการนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ การดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพที่ใส่สายให้อาหารและสายสวนปัสสาวะ
  • ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้
  • ประเมินความรู้หลังอบรม
  • ประเมินความพึงพอใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ  จำนวน  70  คน เมื่อวันที่  19  มีนาคม  2564  ณ  อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  ซึ่งมีในเรื่องความรู้เกี่ยวกับหลักการและประโยชน์ของการฝึกกิจวัตรประจำวัน  หลักการและประโยชน์ของการฟื้นฟูสมรรถภาพเบื้องต้น  บรรยายพร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติ  โดยแบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้  4  ฐาน  เรื่อง  การจัดท่าทางที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก/การบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด  วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย/การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ  การนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ  การดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพที่ใส่สายให้อาหารและสายสวนปัสสาวะ  ซึ่งมีนักกายภาพบำบัด  แพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลกันตัง  และพยาบาลวิชาชีพชำนาญการจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว 2.  ประเมินความรู้ก่อน-หลังการเข้ารับการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง การดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ  (คำถามแบบกากบาทถูกผิดหน้าข้อความ จำนวน  10 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน  รวมคะแนนเต็ม  10  คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้  ดังนี้

- ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 70 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10  คะแนน  จำนวน  4  คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  16  คน  8  คะแนน  จำนวน  22  คน  7 คะแนน  จำนวน  18  คน  และคะแนนต่ำสุด  6  คะแนน  จำนวน  10 คน  จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  8  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  31.43  รองลงมาคือ  7 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  25.71,  9  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  22.86,  6 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  14.29  และ  10  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  5.71  ตามลำดับ - หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน  62  ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10  คะแนน  จำนวน  10 คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  26  คน  8  คะแนน  จำนวน  18  คน  7  คะแนน  จำนวน  6  คน  6  คะแนน  จำนวน  1  คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  5 คะแนน  จำนวน  1  คน  จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้คะแนน  9  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  41.91  รองลงมาคือ  8 คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  29.03, 10  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  16.13,  7  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 9.68, และ 6 คะแนน  และ  5  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  1.61  เช่นเดียวกันตามลำดับ 3. ประเมินทักษะการดูแล/ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว  แก่แกนนำสุขภาพชุมชน  จำนวน  70  คน  ตามฐานการเรียนรู้จำนวน  4  ฐาน  ได้แก่ 3.1  ฐานที่  1  การจัดท่าทางที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก/การบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100 3.2  ฐานที่  2  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย/การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100 3.3  ฐานที่  3  การนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม    พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100 3.4  ฐานที่  4  การดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพที่ใส่สายให้อาหารและสายสวนปัสสาวะ  ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า  ผ่านการประเมินร้อยละ 100 4.  ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม  จำนวน  70  ชุด  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน  50  ชุด  คิดเป็นร้อยละ  71.43  ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ  87.2  ค่าเฉลี่ย  (X ̅) 4.36  มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  สามารถจำแนกในแต่ละด้านได้ดังนี้
- ด้านวิทยากร  และสื่อที่ใช้  ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.37 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ87.4
- ด้านความรู้ ความเข้าใจ  และการนำไปใช้  ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.36  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  87.2 - ด้านสถานที่/ระยะเวลา  ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.35  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  คิดเป็นร้อยละ 87.00 - ภาพรวมของโครงการ  ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.36  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  87.2

 

70 0

2. กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ

วันที่ 21 กรกฎาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ  โดยอาสาสมัครดูแลคนพิการจำนวน  24  คน  ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวในชุมชน  จำนวน  24  ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ  โดยอาสาสมัครดูแลคนพิการจำนวน  24  คน  ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวในชุมชน  จำนวน  24  ราย  โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลกันตัง  ร่วมลงพื้นที่ประเมิน/ติดตามการดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว
  2. ผลการประเมิน/ติดตามการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวที่บ้านก่อน-หลังการฟื้นฟูสมรรถภาพ  ตามแบบประเมินกิจวัตรประจำวัน  (BARTHEL ACTIVITY OF DAILY LIVING SCALE) ซึ่งจากการประเมินกิจวัตรประจำวันหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพ  พบว่า  ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก  คิดเป็นร้อยละ  50  รองลงมา  คือ  ไม่สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองต้องการความช่วยเหลืออย่างมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  25  สามารถทํากิจวัตรประจําวันได้เองในระดับปานกลาง  และระดับมาก  คิดเป็นร้อยละ  12.5  เช่นเดียวกัน
  3. ผลการประเมินหลังการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยนักกายภาพบำบัด  พบว่า  ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว  มีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น หรือ ดีขึ้น  จำนวน  13 ราย คิดเป็นร้อยละ  54.17 และมีกำลังกล้ามเนื้อคงที่หรือเท่าเดิม  จำนวน  11  ราย  คิดเป็นร้อยละ  45.83

 

24 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๑. จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งมีในเรื่องความรู้เกี่ยวกับหลักการและประโยชนของการฝกกิจวัตรประจำวัน หลักการและประโยชนของการฟนฟูสมรรถภาพเบื้องต้น บรรยายพร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติ โดยแบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน เรื่อง การจัดท่าทางที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก/การบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย/การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ  การนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพ การดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพที่ใส่สายให้อาหารและสายสวนปัสสาวะ ซึ่งมีนักกายภาพบำบัด แพทย์แผนไทยจากโรงพยาบาลกันตัง และพยาบาลวิชาชีพชำนาญการจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตังมาให้ความรู้ดังกล่าว ๒. ประเมินความรู้ก่อน-หลังการเข้ารับการอบรม ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง การดูแลและการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ (คำถามแบบกากบาทถูกผิดหน้าข้อความ จำนวน 10 ข้อ ๆ ละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 10 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้ - ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 70 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 10 คะแนน จำนวน 4 คน รองลงมาคือ 9 คะแนน จำนวน 16 คน 8 คะแนน จำนวน 22 คน 7 คะแนน จำนวน 18 คน และคะแนนต่ำสุด 6 คะแนน จำนวน 10 คน จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 8 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.43  รองลงมาคือ 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 25.71, 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 22.86, 6 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 14.29 และ 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.71 ตามลำดับดังตาราง - หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 62 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 10 คะแนน จำนวน 10 คน รองลงมาคือ 9 คะแนน จำนวน 26 คน  8 คะแนน จำนวน 18 คน 7 คะแนน จำนวน 6 คน 6 คะแนน จำนวน 1 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 5 คะแนน จำนวน 1 คน จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้คะแนน 9 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.91 รองลงมาคือ 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 29.03, 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 16.13, 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 9.68, และ 6 คะแนน และ 5 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 1.61 เช่นเดียวกันตามลำดับ
3. ประเมินทักษะการดูแล/ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว แก่แกนนำสุขภาพชุมชน จำนวน 70 คน ตามฐานการเรียนรู้จำนวน 4 ฐาน ได้แก่ 3.1 ฐานที่ 1 การจัดท่าทางที่ถูกต้องในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก/การบริหารข้อป้องกันข้อยึดติด ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 3.2 ฐานที่ 2 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย/การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 3.3 ฐานที่ 3 การนวดบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม  พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 3.4 ฐานที่ 4 การดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพที่ใส่สายให้อาหารและสายสวนปัสสาวะ ผลการประเมินผู้เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผ่านการประเมินร้อยละ 100 4. ประเมินความพึงพอใจผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 70 ชุด ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 50 ชุด คิดเป็นร้อยละ 71.43 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 87.2 ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.36 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถจำแนกในแต่ละด้านได้ดังนี้
- ด้านวิทยากร และสื่อที่ใช้ ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.37 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.4
- ด้านความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.36 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.2 - ด้านสถานที่/ระยะเวลา ค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.35 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 87.00 - ภาพรวมของโครงการค่าเฉลี่ย (X ̅) 4.36 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.2

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน ได้รับความรู้ มีเข้าใจในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพชุมชนที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ทักษะในการดูแลผู้พิการทุพพล-ภาพทางการเคลื่อนไหว 2. เข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 80 มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านโดยอาสาสมัครดูแลผู้พิการ
0.00

 

3 เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันในการดำรงชีวิตของคนพิการ/ทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 70 70
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 0
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชน ได้รับความรู้ มีเข้าใจในการดูแลผู้พิการทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว (2) เพื่อให้ผู้พิการ/ทุพพลภาพทางการเคลื่อนไหวเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข  ได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (3) เพื่อเสริมศักยภาพในการประกอบกิจวัตรประจำวันในการดำรงชีวิตของคนพิการ/ทุพลภาพทางการเคลื่อนไหว

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมเยี่ยมบ้าน/ฟื้นฟูสมรรถภาพ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ร่วมใจดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้พิการ/ทุุพพลภาพทางการเคลื่อนไหว ปี 2564 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L6895-01-14

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( น.ส.ดารารัตน์ อ่อนมาก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด