กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยี่ยมบ้านด้วยคุณภาพ ปี 2564
รหัสโครงการ 2564-L6896-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 7 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2564
งบประมาณ 118,708.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไกรสร โตทับเที่ยง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนในเขตเทศบาลนครตรัง มีผู้ป่วยเรื้อรังที่ต้องเยี่ยมบ้านโดยสหวิชาชีพ ในปี 2563 โดยจำนวนผู้ป่วยที่เยี่ยมบ้าน 572 ราย มีผู้ป่วยดีขึ้นเปลี่ยนกลุ่ม 62 ราย คิดเป็น 10.83% ดีขึ้นจำหน่าย 50 รายคิดเป็น 8.74% รวมดีขึ้น 62 ราย คิดเป็น 10.83% แล้วมีผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดดังนี้ อัตราความครอบคลุมการเยี่ยมบ้าน คิดเป็น98.9% อัตราผู้ป่วยส่งกลับจาก รพศ./รพท./รพช. ได้รับการเยี่ยมบ้านภายใน 14 วัน คิดเป็น 100% จำนวนชั่วโมงการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง/สัปดาห์/คน คิดเป็น 100% อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน (แผลกดทับ) ของผู้ป่วยไม่เกินคิดเป็น 2.53% ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านสามารถควบคุมภาวะโรคดูแลตนเองได้ คิดเป็น 81.25% ความพึงพอใจของทีมเยี่ยมและผู้รับบริการ คิดเป็น 100% ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะมีสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน โดยแบ่งตามระดับความรุนแรงของผู้ป่วยและความต้องการ การช่วยเหลือที่บ้าน มีทั้งผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนได้ (กลุ่ม 1 ) จำนวน 150 ราย ช่วยตนเองได้เล็กน้อย (กลุ่ม 2) จำนวน 189 ราย ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และมีภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นต้องดูแลต่อเนื่องที่บ้าน (กลุ่ม 3) จำนวน 95 ราย และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการช่วยเหลือทำหัตถการทั้งสิ้น 118 หัตถการ/คน โดยแยกเป็น Nasogastric tube(NG) 42 ราย Foley’s cath 23 ราย Tracheostomy ๑4 ราย แผล Colostomy 4 ราย อื่นๆ 33 ราย และมีผู้พิการ ๕17 ราย แยกเป็นผู้พิการทางการมองเห็น ๒3 ราย ผู้พิการทางการได้ยิน/สื่อความหมาย 68 ราย ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว/ร่างกาย ๓18 ราย ผู้พิการทางจิตใจ/พฤติกรรม 37 ราย ออทิสติก 5 ราย ผู้พิการทางสติปัญญา ๕0 ราย ผู้พิการทางการเรียนรู้ 3 ราย ผู้พิการซ้ำซ้อน ๑2 ราย โดยผู้ดูแลบางส่วนยังขาดความรู้และทักษะ ในการดูแลตามสภาพผู้ป่วยในแต่ละราย เพื่อที่จะส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย ฟื้นฟูสภาพและดูแลผู้ป่วยให้ใกล้เคียงกับสุขภาพร่างกายและไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ซับซ้อนมากขึ้น และจากการดำเนินงานและวิชาการใหม่ๆ พบว่าผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางสายยางนั้นต้องมีการถอดเปลี่ยนสายทุก 3 – 4 สัปดาห์ แต่ปัจจุบัน ได้มีสายยางซิลิโคนซึ่งในสามารถใส่และถอดเปลี่ยน 2 – 3 เดือน และการดูแลรักษาพร้อมทั้งการเจ็บป่วยในการใส่นั้นง่ายขึ้น แต่สายยางดังกล่าวไม่สามารถใช้สิทธิใดๆ ในการเบิกได้ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลตรัง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ จึงได้จัดทำ “ โครงการเยี่ยมบ้านด้วยคุณภาพ ปี ๒๕๖4 ” ขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ ได้รับการดูแลแบบองค์รวมและผู้ดูแลได้มีความรู้ที่ถูกต้อง และได้มีอุปกรณ์ที่ดีที่สุดในการดูแล เพื่อจะได้ฟื้นฟูสภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่ป่วยและสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ แบบองค์รวมและเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพ
  • มีข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย Home Health Care  พร้อมทั้งแยกระดับถูกต้องครบถ้วน
  • มีข้อมูลพื้นฐานผู้พิการ พร้อมทั้งแยกประเภทอย่างถูกต้อง
0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วย Home Health Care และผู้พิการ ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์คุณภาพตามตัวชี้วัดของการเยี่ยมบ้าน

เกิดคุณภาพการเยี่ยมบ้านที่ได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดดังต่อไปนี้ - ตัวชี้วัดที่ ๑  อัตราความครอบคลุมการเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านมากกว่าร้อยละ 100 - ตัวชี้วัดที่ ๒  อัตราผู้ป่วยส่งกลับจาก รพศ./รพท./รพช. ได้รับการเยี่ยมบ้านภายใน ๑๔ วัน ร้อยละ 100 - ตัวชี้วัดที่ 3  อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน(แผลกดทับ)ของผู้ป่วยที่บ้านไม่เกินร้อยละ 1 - ตัวชี้วัดที่ 4  ผู้ป่วยได้รับการเยี่ยมบ้านสามารถควบคุมภาวะโรค/ดูแลตนเองได้ร้อยละ 85 - ตัวชี้วัดที่ 5  อัตราการเกิดอุบัติการณ์ตกเตียงของผู้ป่วยที่บ้าน ร้อยละ 0 - ผู้พิการได้รับการดูแลเยี่ยมบ้านอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 118,708.00 4 78,808.00
7 ธ.ค. 63 จัดทำแฟ้มประวัติเยี่ยมผู้ป่วยเยี่ยมบ้านและผู้พิการเพิ่มเติมในผู้ป่วยรายใหม่และแฟ้มเก่าที่ชำรุด 0 15,208.00 15,208.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้พิการ/ผู้ดูแล/อสม. ที่มีหัตถการต่างๆ 0 21,450.00 20,700.00
8 ธ.ค. 63 การดูแล/ตรวจสุขภาพและเยี่ยมผู้พิการที่บ้าน และผู้ป่วยเรื้อรัง 0 42,900.00 42,900.00
8 ธ.ค. 63 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพ 0 39,150.00 0.00

1.สำรวจและจัดทำทะเบียนผู้ป่วย HHC และผู้พิการในชุมชนทั้งรายเก่า/รายใหม่ 2.จัดประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้พิการรายกรณีอย่างถูกต้องและเหมาะสม 3.จัดอบรมให้ความรู้ ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้พิการ/ผู้ดูแล/อสม. 4.กิจกรรมการดูแล/ตรวจสุขภาพและเยี่ยมผู้พิการที่บ้าน 5.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพ 6.ติดตามประเมินผลและสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ป่วย HHC/ผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้พิการ/ผู้ดูแลและอสม. ได้รับความรู้ในการดูแลตนเองและผู้ป่วยอย่างถูกต้องและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน มีฐานข้อมูลพร้อมรายละเอียดของผู้ป่วยที่เยี่ยมบ้านพร้อมทั้งการดูแลเยี่ยมบ้านมีคุณภาพตามเกณฑ์ตัวชี้วัด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 14:11 น.