กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง


“ โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4 ”

ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายปวิตร วณิชชานนท์

ชื่อโครงการ โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 1 เลขที่ข้อตกลง 02/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 1 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 67,659.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากการสำรวจเด็กทั้งหมดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงในปี พ.ศ. 2559 - 2563 พบฟันผุร้อยละ 75.18,72.6,69.2,53.04และ62.05 ตามลำดับ การสำรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็ก 3 ขวบ ปี พ.ศ.2563 มีค่าเฉลี่ยฟันผุคนละประมาณ 6.3 ซี่ต่อคน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีจำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน เด็กจำนวนเด็กที่ได้ตรวจ 48 คน ฟันผุ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 35 คน ฟันผุ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 62.86 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 58 คน ฟันผุ 37 คน คิดเป็นร้อยละ 63.79 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 48 คน ฟันผุ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 20 คน ฟันผุ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า มีอุบัติการณ์โรคฟันผุสูง และพบว่าเด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุดฟัน ทำให้มีฟันผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมานทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็ก

SMART หรือ Simplified Modified Atrumatic Restoration Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มีการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่มีชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี มีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณสูง ซึ่งฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกมามีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดฟันผุหรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ จากการการทบทวนของ Yip และ Smales ในปี ค.ศ. 2006 พบว่า การใช้กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์เป็นสารเคลือบหลุมร่องฟันและใช้ในการทำ SMART พบว่า อัตราการยึดสมบูรณ์มีประมาณร้อยละ 70 และอัตราการเกิดฟันผุอยู่ในช่วง ร้อยละ 0-4 (อัตราการคงอยู่ละฟันไม่ผุเพิ่ม ร้อยละ 96) ส่วนเครื่องมือที่นำไปใช้ในการทำ SMART เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้มือ (Hand instrument) ในการอุดฟัน ประโยชน์ของการทำ SMART ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ คือ ค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็ก เจ็บปวดน้อย ลดการผุลุกลามสามารถเก็บฟันไว้ได้โดยไม่ต้องถอน ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณะด้วยวิธีนี้ ได้แนะนำให้เลือกใช้ในกิจกรรมโปรแกรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนได้ดี

ดังนั้นกลุ่มงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECNIQUE ปีที่4 ขึ้นเพื่อควบคุมโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ และยังเป็นการดูแลรักษาอนามัยในช่องปากให้กับเด็กต่อไปได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี
  2. เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนม ในเด็กอายุ 3-5 ปี
  3. เพื่อให้เด็กอายุ 3-5 ปี ที่ฟันผุได้รับการอุดฟัน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  2. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน
  3. ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ
  4. ติดตามผลหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟันและสุ่มการยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว
  5. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 121
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ผู้ปกครอง 152

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
  2. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไปแล้ว
  3. เด็กอายุ 3-5 ปีได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟันมากขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน
2.คัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีฟันกรามน้ำนมผุเพื่อทำการอุด ART
3.ทาง รพ.ประสานงานครูเพื่อลงไปดำเนินการอุดฟันให้นักเรียน
4.เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ออกหน่วย
5.ครูผู้ดูแลเด็กนัดผู้ปกครองเด็กเพื่อนำเด็กมาตามรายชื่อมาอุดฟันในวันเวลาที่นัดหมาย
6.ให้บริการอุดฟันกรมน้ำนมด้วย SMART technipue และเคลือบฟลูออไรด์วานิชให้แก่เด็กเล็กใน ศพด.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับการบูรณฟันด้วย SMART technipue 101/272 คน/ซี่ (จำนวนคนที่อุดได้คิดเป็นร้อยละ 86.32 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 77.27)

 

0 0

2. ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ

วันที่ 1 มีนาคม 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (เด็กอายุ 3-5 ปี) ในแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 5 ศูนย์ ในสังกัด อบต.กำแพง 2.ดำเนินการตรวจฟันและสุขภาพช่องปากของเด้กนักเรียน 3.วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART 4.ดำเนินการบูรณฟันด้วย  SMART technipue ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับการบูรณฟันด้วย  SMART technipue 101/272 คน/ซี่ (จำนวนคนที่อุดได้คิดเป็นร้อยละ 86.32 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 77.27)

 

0 0

3. อบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

วันที่ 16 มิถุนายน 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

2.ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็ก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้ปกครองรายใหม่ที่เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปาก อาหารที่มีประโยชน์และโทษ ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 24.30 ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 58.14 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็น ร้อยละ 82.44
2.ครูผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฟันผุ การดูแลสุขภาพช่องปากอาหารที่มีประโยชน์และโทษ ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป้นร้อยละ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.22 ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 67.46 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็น ร้อยละ 89.68
3.ผู้ปกครองรายใหม่ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจก่อนการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) เพื่อหยุดยั้งการผุลุกลามของฟันน้ำนมในเด็ก ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 44.27 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 81.69 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 37.42
4.ครูผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจก่อนการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) เพื่อหยุดยั้งการผุลุกลามของฟันน้ำนมในเด็ก ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 65.08 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 89.68 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.60
5.จากการทำแบบแสดงความคิดเห็นของผู้ปกครองรายใหม่และผู้ดูแลเด็กทั้งหมดจำนวน 152 คน พบว่า ผุ้เข้าอบรมเห็นด้วยมากที่สุดคือการรักษาฟันผุหยุดยั้งด้วยการใช้ SDF ได้ผลดีในเด็กเล็ก คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้เข้าอบรมไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ยอมรับได้สีของฟันผุภายหลังทา SDF คิดเป็นร้อยละ 4.61

 

0 0

4. ติดตามผลหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟันและสุ่มการยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว

วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART technipue หลังให้บริการ 1 เดือน
2.ทันตบุคลากรจะเข้าไปสุ่มตรวจร้อยละ 10 การยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้สุ่มตรวจทั้งหมด 30 คน คิดเป็นร้อยละ 29.70 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันในศพด.ปรากฏดังนี้
  - สุ่มตรวจทั้งหมด 72 ซี่
  - การยึดติดของวัสดุกับฟันติดสภาพดี 59 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 81.94
  - หลุดบางส่วน 7 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 9.72
  - หลุดทั้งหมด 6 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 8.33
ได้สุ่มตรวจทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 6.81 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลโรงเรียนต่างๆ ปรากฏดังนี้
  - สุ่มตรวจทั้งหมด 28 ซี่
  - การยึดติดของวัสดุกับฟันติดสภาพดี 25 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 89.29
  - หลุดบางส่วน 2ซี่ คิดเป็นร้อยละ 7.14
  - หลุดทั้งหมด 1 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 3.57

 

0 0

5. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 31 สิงหาคม 2564 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 2.จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
  2. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไปแล้ว
  3. เด็กอายุ 3-5 ปีได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟันมากขึ้น

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. ผู้ปกครองรายใหม่ที่เข้าร่วมการอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 25.88 ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 63.39 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็น ร้อยละ 89.27
  2. จากการทำแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมของผู้ปกครองรายใหม่ก่อนการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูอรไรด์ (SDF) เพื่อหยุดยั้งการผุลุลามของฟันน้ำนมในเด็ก ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 44.27 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 81.69 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 37.42
  3. ครูผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมการอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 22.22 ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 67.46 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็น ร้อยละ 89.68
  4. จากการทำแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมของครูผู้ดูแลเด็กก่อนการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) เพื่อหยุดยั้งการผุลุกลามของฟันน้ำนมในเด็ก ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 65.08 และหลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 89.68 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเสร็จสิ้นการอบรมแล้วผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 24.60
  5. จากการทำแบบแสดงความคิดเห็นของผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กทั้งหมดจำนวน 152 คน พบว่า ผู้เข้าร่วมอบรมเห็นด้วยมากที่สุดคือการรักษาฟันผุหยุดยั้งด้วยการใช้ SDF ได้ผลดีในเด็กเล็ก คิดเป็นร้อยละ 100 และผู้เข้าอบรมไม่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ยอมรับได้ต่อสีของฟันนผุภายหลังทา SDF คิดเป็นร้อยละ 4.61
    6.ได้รับการบูรณฟันด้วย SMART Technique 101/272 คน/ซี่ (จำนวนคนที่อุดได้คิดเป็นร้อยละ 86.32 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 77.27)
  6. จากการสุ่มตรวจหลังการได้รับการอุดฟันแล้ว 1 เดือนแล้วพบว่าเด็กไม่มีอาการปวดฟันหลังการรักษาคิดเป็น ร้อยละ 100 พบรอยโรคหลังการรักษา คิดเป็นร้อยละ 3.33 คุณภาพชีวิตหลังการรักษาพบว่า เด็กสามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติคิดเป็นร้อยละ 100 รับประทานอาหารได้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 26.66 และในภาพรวมผู้ปกครองมีความพึงพอใจที่เด้กได้เข้าถึงบริการและได้รับการบูรณะฟัน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเพิ่มขึ้น
80.00

 

2 เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนม ในเด็กอายุ 3-5 ปี
ตัวชี้วัด : 1. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุ ลดการสูญเสียฟันน้ำนม และลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่อุดไป อย่างน้อยร้อยละ 50
50.00

 

3 เพื่อให้เด็กอายุ 3-5 ปี ที่ฟันผุได้รับการอุดฟัน
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของเด็กที่มีฟันผุได้เข้าถึงการรับบริการอุดฟัน
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 273
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 121
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ผู้ปกครอง 152

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี (2) เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนม  ในเด็กอายุ 3-5 ปี (3) เพื่อให้เด็กอายุ 3-5 ปี ที่ฟันผุได้รับการอุดฟัน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (2) ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน (3) ให้การบูรณฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ (4) ติดตามผลหลังการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART แล้ว เด็กไม่มีอาการปวดฟันและสุ่มการยึดติดการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART ในเด็กที่ขึ้นชั้นอนุบาลที่ได้รับการอุดฟันไปแล้ว (5) รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีที่ 4 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 1

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายปวิตร วณิชชานนท์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด