กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน ”
ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล



หัวหน้าโครงการ
นายปวิตร วณิชชานนท์




ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน

ที่อยู่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 3 เลขที่ข้อตกลง 03/2564

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 3 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 90,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักการการสาธารณสุขมูลฐาน โดยมีเครือข่ายในการดำเนินงานที่สำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน ผู้มีจิตอาสา เสียสละ และเป็นจุดเชื่อมสำคัญที่จะนำนโยบายต่างๆสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ในปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญด้านสาธารณสุขในการพัฒนายกระดับความรู้ อสม. ให้เป็น อสม.หมอประจำบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการสาธารณสุขในชุมชนผ่านการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทของ อสม. เพื่อลดโรคและปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ ลดความแออัด ลดความเลื่อมล้ำ ไร้รอยต่อ ลดการรอคอย ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดการพึ่งพาโรงพยาบาล

อสม. ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ร้อยละ ๘๐ อสม. ยังขาดองค์ความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพ และขาดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานสุขภาพในชุมชน ดังนั้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ อสม. ให้แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งเพื่อเพิ่มศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถของ อสม.ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จำเป็นจะต้องพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน

ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู จึงจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. เพื่อยกระดับอสม. เป็นอสม. หมอประจำบ้าน ขึ้นเพื่อให้ อสม.ที่ผ่านการอบรมแล้วมีความรู้ เกิดทักษะในการดูแลสุขภาพ เป็นพี่เลี้ยงและสนับสนุนให้มีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ทุกครอบครัว ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มภาวะพึ่งพิง และกลุ่มครอบครัวทั่วไปในละแวกบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ลดโรคเรื้อรัง และเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพ เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(หมายเหตุ:อสม.หมอประจำบ้าน คือ ประชาชนที่มีจิตอาสาเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้านและทำหน้าที่เป็นผู้นำจัดการปัญหาสุขภาพของประชาชนร่วมกับ อสม.อสค.ทีมหมอครอบครัว เครือข่ายสุขภาพและประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี)

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมเชิงปฏิบัติการ
  2. ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง
  3. ปฏิบัติงานในพื้นที่
  4. ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม.
  5. ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล
  6. รายงานผลโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
แกนนำ อสม. 50

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ยกระดับ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน
  2. อสม.หมอประจำบ้านมีความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถนำเทคโนโลยีสื่อสารทางการแพทย์ในชุมชนผ่านระบบออนไลน์ และเป็นแกนนำด้านการดูแลสุขภาพในชุมชน
  3. ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ(หลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน 6 วิชา) จำนวน 3 วัน 6 วิชาๆละ 3 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง
  ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในบทบาทของ อสม.หมอประจำบ้าน ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบก่อน-หลังอบรม อสม.หมอประจำบ้าน 6 วิชา ซึ่งประกอบด้วย (1) วิชาอาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.)บทบาท อสม.หมอประจำบ้านและกฎหมาย อสม. (2) วิชาการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ (3) วิชาส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญ/การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (4) วิชาภูมิปัญญาไทย สมุนไพรและการใช้กัญชาทางการแพทย์/การใช้ยาสามัญประจำบ้าน (5) วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ (6) วิชาการเป็นผู้นำการสร้างสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมีแบบทดสอบจำนวน 20 ข้อ พบว่า ก่อนการอบรม อสม.มีความรู้ค่อนข้างดี คิดเป็นร้อยละ 75 ส่วนหลังอบรม อสม.มีความรู้ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 95

กิจกรรมฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง
  ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรมสามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดย อสม.แบ่งกลุ่มๆละ 5 คน ต่อพี่เลี้ยง 1 คน มีทีมสหวิชาชีพเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยแบ่งประเภทกลุ่มเป้าหมายการติดตามเยี่ยมดูแล ได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง(LTC) ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) และภาวะพึ่งพิงอื่นๆ รวมถึงการเป็นพี่เลี้ยงให้กับ อสค.เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยในบ้านได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งรายงานผลการติดตามเยี่ยม/ดูแล ตามแบบฟอร์มที่กำหนดและสามารถประเมินความผิดปกติและติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงเพื่อพิจารณาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

กิจกรรม อสม.นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมปฏิบัติงานในพื้นที่
  ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 100 ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรมและแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ เมื่อ อสม.ได้รับการอบรมตามหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน และได้ฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยมีทีมสหวิชาชีพเป็นพี่เลี้ยง อสม.นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานจริงในพื้นที่รับผิดชอบให้การดูแลชั่งน้ำหนักเด็ก 0-5 ปี ประเมินภาวะโภชนาการ คัดกรองประเมินความดันโลหิต เบาหวาน ดูแลให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น คัดกรองประเมินสุขภาพจิต ติดตามดูแลผู้ป่วย/ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง และรายงานผลการปฏิบัติงานผ่านแอปพลิเคชั่น Smart อสม./อสม.ออนไลน์ เดือนละ 1 ครั้ง (ทุกวันที่ 20 ของเดือน)

กิจกรรมติดตาม/ประเมินผล และถอดบทเรียนการดำเนินงาน
  ทีมพี่เลี้ยงติดตาม/ประเมินผล หลักการฝึกปฏิบัติงาน อสม.นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการและการฝึกปฏิบัติไปใช้ในการปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ทบทวนกระบวนการดำเนินงานของ อสม. พบว่า อสม.สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เกิดความภูมิใจและมีความมั่นใจตัวเองต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่มากขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 100 อสม.ที่ผ่านการอบรม มีความรู้ในบทบาทของ อสม. หมอประจำบ้าน 2.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3.ร้อยละ 100 ของ อสม.ที่ผ่านการอบรม สามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ โทรเวชกรรม และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพด้านสุขภาพ
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
แกนนำ อสม. 50

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น  อสม.หมอประจำบ้าน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ (2) ฝึกปฏิบัติงานในหน่วยบริการ/พื้นที่ตำบลกำแพง (3) ปฏิบัติงานในพื้นที่ (4) ติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของ อสม. (5) ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล (6) รายงานผลโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.เพื่อยกระดับเป็น อสม.หมอประจำบ้าน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 2564 – L8010 – 1 - 3

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายปวิตร วณิชชานนท์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด