กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
รายงานผลโครงการ25 มกราคม 2565
25
มกราคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน ๒ ครั้ง
  2. จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

เฝ้าระวังยาเสพติด9 พฤศจิกายน 2564
9
พฤศจิกายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การป้องกันด้านยาเสพติด
  - จัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งเสพติด และแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
  - จัดทำป้าย โปสเตอร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
  - เดินรณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด
  - ประเมินผลกิจกรรมก่อนและหลังอบรบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดอบรมยาเสพติดให้ความรู้กับนักเรียนให้รูปแบบออนไลน์ เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับยาเสพติด และป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากสารเสพติด และพฤติกรรมการเลียนแบบ การอบรมนี้ได้เชิญวิทยากรเจ้าหน้าที่ตำรวจมาให้ความรู้กับนักเรียนในรูปแบบออนไลน์ ทำให้นักเรียนมีความสนใจ และตื่นเต้นมากในการทำกิจกรรม ร้อยละ๙๐ ของนักเรียนประถมศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมนี้ และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดมากขึ้น

เฝ้าระวังเรื่องโรคโควิด-๑๙7 มีนาคม 2564
7
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย โรเรียนบ้านตูแตหรำ L8010-009
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การป้องกันโรคติดต่อโรคโควิด-๑๙
  - จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-๑๙
  - ปฏิบัติการทำหน้ากากอนามัย
  - ปฏิบัติการทำเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
  - ประเมินผลกิจกรรมก่อนและหลังอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการอบรมนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยวิทยากรทางด้านสาธารณสุข ทำให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันตัวเอง และสังคม จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นมาตรการที่ประชาชนทุกคนควรทำและให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค จากการอบรมของวิทยากรให้กับนักเรียน สามารถปฏิบัติตามหลัก Social Distancing การเว้นระยะห่างทางสังคม โดยปฏิบัติดังนี้
1. พักอยู่บ้าน หากรู้สึก ไม่สบาย 2. เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย ๑-๒ เมตร
3. เลียงการจับมือ และไม่ไปในสถานที่แออัด
4. หมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ
5. เฝ้าระวังตัวเอง สวกหน้ากากอนามัย สังเกตอาการของตัวเอง

การทำหน้ากากอนามัย
การแพร่ระบาดรุนแรงของโรคโควิด-๑๙ ได้ระบาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หน้ากากาอนามัยไม่เพียงพอต่อท้องตลาด ทางโรงเรียนจึงจัดกิจกรรมการทำหน้ากากาขึ้นให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ -๖ โดยมีการให้ความรู้จากวิทยากรมาสอนทำหน้ากากให้กับนักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มๆย่อย มีผู้ปกครองนักเรียนร่วมทำหน้ากากกับนักเรียน คนละ ๑ ชิ้น นักเรียนร้อยละ 80 สามารถทำหน้ากากได้ด้วยตนเอง นักเรียนบางส่วน ร้อยละ 20 ทำหน้ากากไม่เสร็จ เพราะเป็นนักเรียนช่วงชั้นต้น โดยภาพรวมนักเรียนส่วนใหญ่ ทำหน้ากากได้ด้วยตนเอง และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันโรคโควิด-๑๙

การทำเจลแอลกอฮอล์
นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ได้เรียนรู้วิธีการผลิตเจลแอลลกอฮอล์ สำหรับล้างมือที่ใช้ทำความสะอาดในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 90 นักเรียนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจเป็นอันมาก เนื่องจากได้รู้เรียนรู้ถึงวัสดุ และขั้นตอนการทำเจลแอลกอฮอล์ และได้ลงมือทำ สร้างความสามัคคีในกลุ่ม เนื่องจากเจลแอลกอฮอล์สะดวกในการล้างมือ ที่สำคัญปลอดภัยต่อเชื้อโควิด 19 ช่วยลดความเสี่ยงจากการรับเชื้อโรคที่มือไปสัมผัสโดนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายและนำไปสู่การเกิดโรคได้ในภายหลัง

ส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้กับนักเรียน7 กุมภาพันธ์ 2564
7
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นวิทยากร
  2. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ โดยวิทยากร ตามเนื้อดังนี้
    • ความสำคัญของ EQ และ IQ
    • การนำ EQ และ IQ มาใช้ในชีวิตประจำวัน
    • การฝึกทักษะการคิดเชิงบวก
    • การแบ่งกลุ่มเพื่อทดลองวิเคราะห์ปัญหาของนักเรียน และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
  3. จัดกิจกรรมพัฒนาส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน ๑๐ ครั้ง
  4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  5. ทำแบบประเมินก่อนและหลังอบรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมจัดอบรมนักเรียนระดับประถมศึกษาด้านความฉลาดทางอารมณ์
    กิจกรรมจัดอบรม ประชุม นักเรียนระดับประถมศึกษาด้านความฉลาดทางอารมณ์ โดยมีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ เข้าร่วมจำนวน ๗๙ คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๑๔ คน ร้อยละ ๙๒.๑๓ ของนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเอง
  2. กิจกรรมพัฒนาส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 10 ครั้ง โดยกิจกรรมพัฒนาหลัก ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข
    การจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนเพื่อส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่ กิจกรรมด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข พบว่านักเรียนมีสภาวะทางด้านอารมณ์ ดังนี้

2.1 ด้านดี วิเคราะห์ผลจาก การควบคุมอารมณ์ตนเอง การเห็นใจผู้อื่น และความรับผิดชอบ
- นักเรียนสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองในสภาวะปกติได้ ร้อยละ ๖๕.๘๒ ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ ๑๓.๙๒ และสูงกว่าปกติ ร้อยละ ๒๐.๒๕ ของนักเรียนทั้งหมด
- นักเรียนมีความเห็นใจผู้อื่นในสภาวะปกติได้ ร้อยละ ๗๕.๙๕ ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ ๒๑.๕๒ และสูงกว่าปกติ ร้อยละ ๒.๕๓ ของนักเรียนทั้งหมด
- นักเรียนมีความรับผิดชอบในสภาวะปกติได้ ร้อยละ ๗๘.๔๘ ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ ๑๗.๗๒ และสูงกว่าปกติ ร้อยละ ๕.๐๖ ของนักเรียนทั้งหมด
2.2 ด้านเก่ง วิเคราะห์ผลจาก การมีแรงจูงใจ การตัดสินใจแก้ปัญหา และมีสัมพันธภาพที่ดี
- นักเรียนสามารถสร้างแรงจูงใจในสภาวปกติได้ ร้อยละ ๗๒.๑๕ ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ ๒๕.๓๒ และสูงกว่าปกติ ร้อยละ ๒.๕๓ ของนักเรียนทั้งหมด
- นักเรียนสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาในสภาวะปกติได้ ร้อยละ ๗๘.๔๘ ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ ๒๐.๒๕ และสูงกว่าปกติ ร้อยละ ๑.๒๗ ของนักเรียนทั้งหมด
- นักเรียนสามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นในสภาวะปกติได้ ร้อยละ ๖๐.๙๖ ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ ๓๒.๙๑ และสูงกว่าปกติ ร้อยละ ๒.๕๓ ของนักเรียนทั้งหมด
2.3 ด้านสุข วิเคราะห์ผลจาก ความภูมิใจในตนเอง พอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจ
- นักเรียนสามารถสร้างความภูมิใจในตนเองในสภาวะปกติได้ ร้อยะล 86.08 ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 8.86 และสูงกว่าปกติ ร้อยละ 5.06 ของนักเรียนทั้งหมด
- นักเรียนสามารถมีความพอใจชีวิตตนเองในสภาวะปกติได้ ร้อยละ 69.62 ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 24.05 และสูงกว่าปกติ ร้อยละ 6.33 ของนักเรียนทั้งหมด
- นักเรียนสามารถสร้างความสุขสงบทางใจในสภาวะปกติได้ ร้อยละ 77.22 ต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 21.52 และสูงกว่าปกติ ร้อยละ 1.27 ของนักเรียนทั้งหมด