กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

โครงการเด็กปิใหญ่สุขภาพดี ชีวีปลอดโรค ของโรงเรียนบ้านปิใหญ่ ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีและมีอัตราฟันผุลดลง 2. เพื่อแก้ไข ส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ 3. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สมุนไพรไทยและให้นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น มีกิจกรรมดำเนินการ
1.อบรม
กิจกรรมที่ 1.1 สุขภาพช่องปากและฟัน โดยอบรมบรรยายให้ความรู้เรื่องสุขภาพช่องปากและฟันการแปรงฟันที่ถูกวิธี สร้างแกนนำนักเรียน ให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเที่ยงทุกวัน จัดรายการเสียงตามสายให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก จัดกิจกรรมตอบปัญหาสุขภาพช่องปาก และจัดประกวดหนูน้อยฟันดีโดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน ป.1-ป.2 จำนวน 90 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน ครู บุคลากร จำนวน 10 คน และตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน นักเรียนร้อยละ 70 มีภาวะฟันผุลดลง นักเรียน ครูและผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากละฟัน พบว่า มีการเฝ้าระวังและติดตามการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ร้อยละ 100 นักเรียนร้อยละ 70 มีภาวะฟันผุลดลง ผลจากการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ 67.50 และผลจากการทดสอบความรู้หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 83.42
กิจกรรมที่ 1.2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็ก ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก แก่นักเรียน ผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการปรับเปลี่ยนพฟติกรรมเด็กที่มีปัญหาโภชนาการแต่ละราย ส่งเสริมให้เด็กบริโภคนมรสจืด โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน 94 คน และตัวชี้วัดความสำเร็จ นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียน ที่มีปัญหาทุพโภชนาการร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในสภาวะปกติ นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกตินักเรียนที่มีส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 100 พบว่า ผลจากการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ 67.13 และผลจากการทดสอบความรู้หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 83.94 นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 84.21 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในสภาวะปกติ นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ นักเรียนที่มีส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 100
กิจกรรมที่ 1.3 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ/สมุนไพรไทย การแปรรูปสมุนไพร และนำมาใช้ประโยชน์ นำผักที่ปลูกมาประกอบอาหารกลางวันให้กับเด็กนักเรียนเพื่อให้เด็กได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ โดยมีกลุ่มเป้าหมายนักเรียน ป.1-ป.6 จำนวน 40 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 คน ครู บุคลากร จำนวน 10 คน และมีตัวชี้วัดความสำเร็จ นักเรียน ผู้ปกครองและครู ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและการนำสมุนไพรมาแปรรูปและใช้ประโยชน์ นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 พบว่า ผลจากการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม คิดเป็นร้อยละ 66.11 และผลจากการทดสอบความรู้หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 84.11 นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90.09
2. ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดโรค
กิจกรรมที่ 2.1 ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ชีวีปลอดโรค ปรับปรุงสถานที่ในโรงเรียน เตรียมสถานที่เพาะปลูกผัก/สมุนไพร นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนร่วมกันปลูกผัก สมุนไพรและดูแลผัก สมุนไพรตลอดจนการเก็บเกี่ยวทำน้ำหมักชีวภาพ และเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพร นำผักที่ปลูกส่งเสริมเป็นอาหารกลางวันและนำสมุนไพรมาแปรรูป โดยมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน ป.1-ป.6 จำนวน 40 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 20 คน ครู บุคลากร จำนวน 10 คน และมีตัวชี้วัดความสำเร็จ นักเรียน ผู้ปกครองและครู ร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและการนำสมุนไพรมาแปรรูปและใช้ประโยชน์นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 พบว่า ผลจากการทดสอบความรู้ก่อนการอบรม คิดเป้นร้อยละ 66.11 และผลจากการทดสอบความรู้หลังการอบรม คิดเป็นร้อยละ 84.11 นักเรียนบริโภคผักเพิ่มขึ้นร้อยละ 90.09
โรงเรียนได้ดำเนินการตามระบบ PDCA โดยบูรณาการเข้ากับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและวิทยากรจากภายนอก มาจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย เห็นได้จากนักเรียน ผู้ปกครอง ในชุมชนมีการแก้ไข ส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น โดยใช้กระบวนการและความรู้ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมในโครงการสามารถทำให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากและฟันดีขึ้น ภาวะทุพโภชนาการลดลง นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ รู้จักนำสมุนไพรไปแปรรูปและใช้ประโยชน์

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. การดำเนินงานอยู่ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด- โรงเรียนจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนอยู่เป็นระยะๆ ทำให้การดำเนินงานตามโครงการเกิดการล่าช้า บางกิจกรรมก็จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบ้างตามสถานการณ์เพื่อให้กิจกรรมตามโครงการสามารถดำเนินการไปได้
  2. การดำเนินงานกิจกรรมบางกิจกรรมขาดความต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนมีทั้งการเปิดเรียนปกติและให้นักเรียนมารับใบงานในบางครั้ง เช่น กิจกรรมการแปรงฟัน
เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ