กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านคลองน้ำเค็มสะอาด ปราศจากขยะและปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5313-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่5 คน
วันที่อนุมัติ 21 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 36,160.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายม่ากน สาเล่หมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 36,160.00
รวมงบประมาณ 36,160.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561 (กรมควบคุมมลพิษ, ๒๕๖๒) มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 27.8 ล้านตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากร การส่งเสริมการท่องเที่ยว การบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยในหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
จากการศึกษาบริบทของชุมชนของตำบลละงู พบว่ามีการเพิ่มการกระจายของร้านค้า และตลาดสดในทุกหมู่บ้าน ตอบสนองความต้องการการอุปโภค บริโภคของประชาชน ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในชุมชน และที่สำคัญไปกว่านั้น ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน บ้านคลองน้ำเค็ม หมู่ที่ ๑๖ ตำบลละงู พบผู้ป่วยไข้เลือดออกครั้งล่าสุดในปี ๒๕๖๒ จำนวน ๔ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๕๒๙.๑๐ ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ < ๕๐ ต่อแสน) สถานการณ์ป่วยเกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี (Median = ๓) เมื่อพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน พบว่ามีการกระจายของเศษขยะ แก้ว ถุงพลาสติก ถังพลาสติกที่มีน้ำขังและลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน มัสยิด และเส้นทางสาธารณะในหมู่บ้านและถนนสัญจรสายหลัก เมื่อพิจารณาตามปัจจัยบุคคลพบว่าประชาชนมีความรู้สามารถเข้าถึงข่าวสารสาธารณะและสุขภาพ แต่ยังขาดความตระหนัก และมีพฤติกรรมสุขวิทยาไม่ถูกต้อง เมื่อพิจารณาตามปัจจัยด้านเชื้อโรคการเกิดโรค พบว่า การเคลื่อนย้ายของประชากรไปยังพื้นที่ที่มีการป่วยส่งผลให้ติดต่อคนในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดโดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ปี ๒๕๖๒ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บ้านคลองน้ำเค็ม ประสบความสำเร็จด้าน ๑) การจัดการระบบรายงานค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายผ่านระบบออนไลน์เพื่อควบคุมปริมาณยุงมีเชื้อ ๒) การสร้างกระแสการมีส่วนร่วมในการเก็บขยะในรูปแบบ Big Cleaning Day แต่ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องพ่นกำจัดกำจัดยุงและเคมีภัณฑ์ ทำให้มีความล่าช้าในการดำเนินการควบคุมโรคในพื้นที่
จากความสำคัญดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 16 บ้านคลองน้ำเค็มจึงได้จัดโครงการบ้านคลองน้ำเค็มสะอาด ปราศจากขยะและปลอดโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ ๒๕๖4 เพื่อส่งเสริมการรวมพลังภาคีเครือข่ายสร้างจิตสำนึก จิตอาสาในการกำจัด คัดแยกขยะอย่างถูกต้อง และจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือและเคมีภัณฑ์กำจัดยุง ทำให้หมู่บ้านไม่เป็นแหล่งรังโรคและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีความสะอาด สร้างสรรค์สังคมสุขภาวะที่ดีขึ้น สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การจัดระบบสุขภาพอำเภอละงู คนละงูรักสะอาด ปราศจากโรคต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 . เพื่อให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกขยะและป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน
  • จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ปีละ ๔ ครั้ง
  • ระบบรายงานการคัดแยกขยะและสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำเดือน
0.00 0.00
3 . เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

ไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในปี พ.ศ.2564

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,160.00 3 36,160.00
1 ก.พ. 64 - 31 มี.ค. 64 ๑. ประชุมคณะทำงาน/เครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย : อสม. กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนประชาชน จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานหมู่บ้านสะอาด จัดทำป้ายสื่อรณรงค์ 0 4,500.00 4,500.00
1 ก.พ. 64 - 31 มี.ค. 64 ๒. อบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะ 0 28,000.00 28,000.00
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 3. กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 0 3,660.00 3,660.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ไม่พบผู้ป่วย ปี 2564 หรือ อัตราป่วยไม่เกินเกณฑ์ 50 ต่อแสนประชากร
    1. มีเครื่องมืออุปกรณ์ใช้ควบคุมโรคได้ทันเวลา
    2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้องในระดับครัวเรือน เด็ก นักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึกนิสัยรักสะอาด และปริมาณขยะในชุมชนลดลง ๔. ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2563 00:00 น.