กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย” ลดโรคไข้เลือดออก ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน

หมู่ที่ 2,4,5 ตำบลตะแพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

1.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขในระดับประเทศไทย มายาวนาน เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราตาย การป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจึงส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยชุมชน สังคมและประเทศชาติ ตามลำดับ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ เดิมการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะพบบ่อย ในกลุ่มอายุระหว่าง 15 - 24 ปี แต่ปัจจุบันมักพบผู้ป่วยได้ในทุกกลุ่มอายุและพบได้ทุกฤดูกาล
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 01 มกราคม2566มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม อำเภอศรีบรรพต มีผู้ป่วย 3 รายอัตราป่วย 17.64ต่อแสนประชากร ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน มีผู้ป่วย 1 ราย อัตราป่วย 50.17ต่อแสนประชากร
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะแพน ดำเนินการเฝ้าระวังโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องจะติดตามและเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้น โดยให้ทุกหมู่บ้านได้ทำการควบคุมและป้องกันโรค รวมทั้งกระตุ้นให้ชุมชนได้ตระหนักถึงพิษภัยของโรคไข้เลือดออกและช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้หมดไปโดยมุ่งหวังที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปัญหาการป่วยและลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายให้หมดไปจากพื้นที่ และเพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้น้อยที่สุดด้วยกลวิธีครัวเรือนปลอดลูกน้ำยุงลายของประชาชน
จึงได้จัดทำโครงการ“บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย” ลดโรคไข้เลือดออกปี 2566 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง อันเป็นการกระตุ้นเตือน ให้ตื่นตัวในการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ประชาชนมีความรู้และความร่วมมือในการกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

116.00 116.00
2 เพื่อสร้างครัวเรือนต้นแบบบ้านสะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย ทุก หมู่บ้าน ทั้งประเภทบ้าน อสม และประเภทบ้านตัวแทนในเขตรับผิดชอบของ อสม

ร้อยละของหมู่บ้านชุมชนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน โดยมีค่า H I  ≤๑๐

116.00 116.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 136
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/06/2023

กำหนดเสร็จ 10/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
ประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมิน บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย      1.ประชุมชี้แจงคณะกรรมการ  แนวทางในการลงสุ่ม ประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย (ดำเนินการในวันที่ 13 มิถุนายน 2566)
       - ค่าอาหารกลางวัน คณะกรรมการ ฯ จำนวน 20 คน x 1 มื้อ x 60 บาท เป็นเงิน    1,200 บาท         -อาหารว่างและเครื่องดื่ม  คณะกรรมการ ฯ จำนวน 20 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท


        2. ลงสุ่มประเมินบ้านตามแผนการ  ประเมินบ้าน เพื่อประกวดหาบ้านที่สะอาดปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยคณะกรรมการฯ พร้อมทั้งให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกเชิงรุก แก่ประชาชน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (ดำเนินการในวันที่ 15 มิถุนายน 2566)               3.1 ประเภทบ้าน อสม จำนวน  58 หลังคาเรือน               3.2 ประเภทบ้านตัวแทนในเขตรับผิดชอบของ อสม จำนวน  58 หลังคาเรือน           3. ประชุมติดตามผลการประเมินบ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ของคณะกรรมการฯ (ดำเนินการในวันที่ 21 มิถุนายน 2566)         - ค่าอาหารกลางวัน คณะกรรมการ ฯ จำนวน 20 คน x 1 มื้อ x 60 บาท เป็นเงิน    1,200 บาท         -อาหารว่างและเครื่องดื่ม  คณะกรรมการ ฯ จำนวน 20 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท           4. จัดกิจกรรมมอบป้าย บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย แก่บ้านที่ผ่านการประเมิน (ดำเนินการในวันที่ 10 กรกฎาคม  2566)        -ค่าจัดทำป้าย บ้านสะอาด ปลอดลูกน้ำยุงลาย  จำนวน 18 ป้าย  x 130บาท เป็นเงิน  2,340  บาท 4. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   6,740 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2566 ถึง 10 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ ๒๐ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี
    1. ร้อยละของหมู่บ้านชุมชนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน โดยมีค่า H I≤๑๐
    2. ร้อยละของโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงร้อยละ ๒๐ ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี
2. ร้อยละของหมู่บ้านชุมชนมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน โดยมีค่า H I≤๑๐
3. ร้อยละของโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย (CI=0)


>