กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด อบต.ละงู

1.นางอัปสร สุติกโทร0827318801
2.นางสาวิตรี โอมเพียรโทร0846822868
3.นางสาวจรรยาติงหวังโทร 0629735181
4.นางสาววิชชุดาลาเย็นโทร 0824387764
5.นางสาวเจ๊ะมารีย๊ะโดงกูลโทร0896584561

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตขณะขับขี่ยานพาหนะสองล้อ เช่น รถจักรยาน และจักรยานยนต์ การเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่มาจาก อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งหมวกนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บที่ ศีรษะและ ลดอาการรุนแรงของอาการบาดเจ็บลงได้การส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยและสวมหมวกนิรภัย จึงเป็นวิธีการสำคัญ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีเขตพื้นที่บริการ คือม.3, ม.5, ม.9, ม.10,ม.11, ม.13, และ ม.16 เด็กในปีการศึกษา 2567 มีจำนวน 145 คน เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ตั้ง ด้านหน้าติดถนนใหญ่สายหลัก (ถนนละงู - ฉลุง)ซึ่งมีรถวิ่งตลอดเวลา เส้นทางการมารับส่งเด็กส่วนใหญ่เป็นถนนซอยและเส้นทางถนนใหญ่สายหลัก จากการสังเกตอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถจักรยานยนต์ในศพด.บ้านคลองขุดพบว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.56 % โดยไม่มีการสวมหมวกนิรภัยจากการรับ- ส่ง ด้วยรถจักรยานยนต์ของผู้ปกครองที่ไม่ได้สวมหมวกนิรภัยระหว่างเดินทาง ซึ่งมีอัตราการใช้หมวกนิรภัยจำนวนน้อยสะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝันและเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลาย ๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตร หลาน สวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์การรับส่งเด็กส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะใช้รถจักรยานยนต์ส่วนตัวในการมารับส่งเด็ก และมีส่วนน้อยที่สวมใส่หมวกนิรภัยในการมารับส่งเด็กหรือในการเดินทางไปที่ต่างๆ ด้วยพฤติกรรมนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลายๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร และพฤติกรรมการขับขี่ที่ประมาท ขาดความระมัดระวัง ชะล่าใจ ขับขี่ด้วยความเร็ว การฝ่าสัญญาณไฟ การขับขี่ในช่องจราจรที่ไม่ถูกต้องการเปลี่ยนช่องทางจราจรโดยไม่เปิดสัญญาณไฟ เนื่องจากอาจเข้าใจว่าเป็นพื้นที่ที่การจราจรไม่หนาแน่น ดังนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต ในการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ศีรษะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือเสียชีวิตจากการบาดเจ็บประเภทนี้ นอกจากนี้ผู้ขับขี่ที่ไม่สวม หมวกนิรภัยยังเพิ่มภาระให้แก่โรงพยาบาลที่รับตัวเข้ารักษา เป็นภาระแก่บุคคล ครอบครัว (หรือผู้ดูแล) และสังคม หากต้องกลายเป็นคนพิการ
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด เล็งเห็นความสำคัญของอุบัติเหตุจากพฤติกรรมไม่สวมหมวกนิรภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กและผู้ปกครอง ที่สร้างความสูญเสียในเรื่องต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงได้จัดทำโครงการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย ปลูกฝังวินัยจราจรความปลอดภัยบนท้องถนนให้กับเด็กๆในศูนย์ฯ โดยเน้นให้เด็กๆ เป็นศูนย์กลาง ส่วนครูและผู้ปกครองจะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กๆ ได้เดินทางไป - กลับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างปลอดภัย และหวังจะลดจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตของทุกคนจากอุบัติเหตุทางถนน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู ผู้ปกครองและเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุดมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร

ครู ผู้ปกครองและเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ร้อยละ80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร

0.00
2 เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยง(ไม่สวมใส่หมวกกันน็อค)ของครู ผู้ปกครอง และเด็กขณะขับรถจักรยานยนต์

ครู ผู้ปกครองและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ร้อยละ100 สวมหมวกกันน็อค ขับขี่ปลอดภัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 145
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กนักเรียน 145

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานจำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานจำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อติดตาม
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 เพื่อสรุปผลดำเนินโครงการ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ25 บาท 3 ครั้งเป็นเงิน 750 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ 300 บาท (ปากกา สมุด กระดาษบรูฟ)
รวมค่าใช้จ่าย 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีการประชุมคณะทำงานจำนวน 3 ครั้ง
ผลลัพธ์
- คณะทำงานเข้าใจแผนงานโครงการ
- คณะทำงานรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
- คณะทำงานร่วมออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจการสวมหมวกนิรภัยสำรวจยานยานพาหนะของผู้ปกครองสำรวจเส้นทางการเดินรถ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจการสวมหมวกนิรภัยสำรวจยานยานพาหนะของผู้ปกครองสำรวจเส้นทางการเดินรถ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจสถานการณ์การสวมหมวกนิรภัยสำรวจยานยานพาหนะของผู้ปกครองสำรวจเส้นทางการเดินรถ
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่ากระดาษ ปากกา 360 บาท รวม 360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 15 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ผลการสำรวจข้อมูลจำนวน 1 ชุด
ผลลัพธ์
- นำผลการสำรวจมาตัดสินใจในการทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
360.00

กิจกรรมที่ 3 คืนข้อมูล/อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการไม่สวมหมวกนิรภัย/วางมาตรการร่วมเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยด้วยการสวมหมวกนิรภัย

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูล/อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการไม่สวมหมวกนิรภัย/วางมาตรการร่วมเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยด้วยการสวมหมวกนิรภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่1 (เช้า)1 3.1 อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากการไม่สวมหมวกนิรภัยเพื่อคืนข้อมูลสถานการณ์และวางมาตรการณ์ร่วมตลอดจนสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการสวมหมวกนิรภัยให้กับผู้ปกครอง โดยจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครูศพดกับผู้ปกครองเด็ก ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต อสม ผู้นำศาสนา เรื่องการสวมใส่หมวกกันน็อด 100 % และ- ติดป้ายประกาศข้อตกลงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รายละเอียดค่าใช้จ่าย - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน3 ชม.x ชม.600 = 1800 บาท - ค่าป้าย/ป้ายไวนิลโครงการ 1 แผ่น/ผืน เมตรละ 150 บาทขนาด 1.2 x 2.4 เมตร = 432 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน1 มื้อ มื้อละ 60 บาท x 145 =8,700 บาท - ค่าอาหารและเครื่องดื่ม (เช้า-บ่าย) มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ=7250 บาท - ค่าอุปกรณ์เอกสารอบรมชุดละ 30 x 145 = 4350 บาท - ค่าปากกา145 x 5 = 725 บาท - ป้ายติดประกาศอคลิลิคพร้อมใส่กรอบ ขนาด 60 ซม. X 120 ซม. เป็นเงิน 1,800 บาท รวม 23,257บาท วันที่1 (บ่าย) 1.3.1 รณรงค์สวมหมวกกันน็อค ขับขี่ปลอดภัย 100 %
จัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครูศพดกับผู้ปกครองเด็กเรื่องการสวมใส่หมวกกันน็อด 100 % ขณะรับ-ส่งเด็กที่ศพด โดยมีคณะครูบันทึกภาพทุกวัน
งบประมาณ - ค่าจัดซื้ออุปกรณ์สาธิต หมวกนิรภัยแก่เด็กปฐมวัยในศพด. 200 x 145 = 29,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กรกฎาคม 2567 ถึง 26 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - ผู้ปกครองเด็ก จำนวน145 คน
ผลลัพธ์ - ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องอันตรายจากการไม่สวมหมวกนิรภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52257.00

กิจกรรมที่ 4 ปรับภูมิทัศน์จุดเสี่ยงลดอุบัติเหตุเส้นทางการเดินรถของศพด.

ชื่อกิจกรรม
ปรับภูมิทัศน์จุดเสี่ยงลดอุบัติเหตุเส้นทางการเดินรถของศพด.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับจุดเสี่ยงอันตรายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(ท้องที่ ท้องถิ่นชุมชนและศพด.) ช่วงเวลาเช้าและเย็นจะต้องมีการปรับเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงเวลาที่เร่งด่วนโดยให้ชรบ.ประจำ หมู่บ้าน ม.9 ตั้งกรวยจราจรเพื่อลดความเสี่ยง
- รายละเอียดค่าใช้จ่าย
กรวยจราจร ขนาดสูง 70 ซม. ราคา 250 บาทจำนวน15 อัน เป็นเงิน 3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กรกฎาคม 2567 ถึง 9 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - ผู้ปกครองและเด็กจำนวน 290  คน ผลลัพธ์ - ผู้ปกครองและเด็กมีความปลอดภัยในการขับขี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินการโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-แลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป
-สรุปจุดเสี่ยงต่างๆในเส้นทางจากบ้าน-มายังศพด. -ปัญหา-อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ -จัดกิจกรรมมอบเกียรติบัตรให้แก่เด็กและผู้ปกครองที่ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งที่มารับ-ส่งเด็กที่ศพด รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารและเครื่องดื่ม (เช้า-บ่าย) มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ=7250 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน1 มื้อ มื้อละ 60 บาทx 145 =8700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 29 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - ได้บทเรียนโครงการจำนวน  2 ชุด ผลลัพธ์ - สรุปผลการดำเนินงานโครงการและข้อมูลพร้อมส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ชุมชนไม่สามารถแก้ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15950.00

กิจกรรมที่ 6 การให้ความรู้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเรื่องวินัยจราจร

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเรื่องวินัยจราจร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วันที่ 2 3.2 ให้ความรู้เรื่องสัญลักษณ์การจราจร/อันตรายจากการไม่สวมหมวกนิรภัยแก่เด็กนักเรียนทุกวันก่อนเลิกเรียนวันละ 30 นาที งบประมาณ - ชุดป้ายจราจร จำนวน 1 ชุด x 8000 = 8000บาท - จักรยานเด็ก จำนวน 3 คัน x 1500 = 4500 บาท - ค่ากรวยจราจรขนาด 10 นิ้ว จำนวน 12 อัน x 100 = 1200 บาท
รวม 13700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 87,067.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันอุบัติเหตุใช้เส้นทางจราจร เกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย
2..ครู ผู้ปกครองและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองขุด ร้อยละ 100 ขับขี่ปลอดภัย และสวมหมวกนิรภัย
3.เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับหมู่บ้าน


>