กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

หนูน้อยปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยเสริมสร้างวินัยจราจร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หนูน้อยปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยเสริมสร้างวินัยจราจร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู

1.นางสาวรัชนีเอ็มเล่งโทร 0872944076
2.นางเกษราภรณ์นิลสกุลโทร 0869620239
3.นางจรรยาเอกดำรงโทร 0801569986
4.นางสาวอุไรวรรณหลีหาด โทร 0844628975
5.นางสาวเจ๊ะหยนปองแท้โทร 0896575274

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีเขตพื้นที่บริการ คือ หมู่ที่ 1, หมู่ที่ 2, หมู่ที่ 7, หมู่ที่ 14, และหมู่ที่ 18 เด็กในปีการศึกษา 2567 มีจำนวน 120 คน เป็นศูนย์ที่ตั้งอยู่ใกล้หนองน้ำ ติดถนนใหญ่และมีถนนซอยผ่านข้างศูนย์ ซึ่งมีรถวิ่งตลอดเวลา เส้นทางการมารับส่งเด็กส่วนใหญ่เป็นถนนซอยและเส้นทางถนนใหญ่ จากการสังเกตการรับส่งเด็กส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะใช้รถจักรยานยนต์ส่วนตัวในการมารับส่งเด็ก และมีส่วนน้อยที่สวมใส่หมวกนิรภัยในการมารับส่งเด็กหรือในการเดินทางไปที่ต่างๆ ด้วยพฤติกรรมนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลายๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร และพฤติกรรมการขับขี่ที่ประมาท ขาดความระมัดระวัง ชะล่าใจ ขับขี่ด้วยความเร็ว การฝ่าสัญญาณไฟ การขับขี่ในช่องจราจรที่ไม่ถูกต้อง การเปลี่ยนช่องทางจราจรโดยไม่เปิดสัญญาณไฟ เนื่องจากอาจเข้าใจว่าเป็นพื้นที่ที่การจราจรไม่ได้หนาแน่นเหมือนในเมือง เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต การเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่มาจาก อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งหมวกนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บที่ศีรษะ และลดอาการรุนแรงของอาการบาดเจ็บลงได้ การส่งเสริมให้ผู้ขับขี่มีวินัยและสวมหมวกนิรภัยมากขึ้น จึงเป็นวิธีการสำคัญ ในการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน และเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ศีรษะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือเสียชีวิตจากการบาดเจ็บประเภทนี้ นอกจากนี้ผู้ขับขี่ที่ไม่สวม หมวกนิรภัยยังเพิ่มภาระให้แก่โรงพยาบาลที่รับตัวเข้ารักษา เป็นภาระแก่บุคคล ครอบครัว (หรือผู้ดูแล) และสังคม หากต้องกลายเป็นคนพิการ
ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู เล็งเห็นความสำคัญของอุบัติเหตุจากพฤติกรรมไม่สวมหมวกนิรภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเด็กและผู้ปกครองในศูนย์ ที่สร้างความสูญเสียในเรื่องต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยและเสริมสร้างวินัยจราจรในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงูนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักในการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย ปลูกฝังวินัยจราจรความปลอดภัยบนท้องถนนให้กับเด็กๆในศูนย์ฯ โดยเน้นให้เด็กๆ เป็นศูนย์กลาง ส่วนครูและผู้ปกครองจะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กๆ ได้เดินทางไปกลับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้อย่างปลอดภัย และหวังจะลดจำนวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตของทุกคนจากอุบัติเหตุทางถน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก การมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำข้อมูลมาจัดการจุดเสี่ยง และลดพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน
  • เกิดคณะทำงานที่ขับเคลื่อนโครงการที่มีส่วนร่วมของภาคส่วน
  • เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู สวมหมวกนิรภัยเมื่อซ้อนท้ายรถจักยานยนต์มาโรงเรียนครบทุกคน
  • เกิดมาตรการร่วมในการลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่
0.00 80.00
2 2.เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะเรื่องวินัยจราจร สัญลักษณ์และความปลอดภัยบนท้องถนน
  • เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ได้ฝึกทักษะเรื่องวินัยจราจร สัญลักษณ์และความปลอดภัยบนท้องถนน
0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู ศพด.องค์การบริหารส่วนตำบลละงู 9
ผู้ปกครองของเด็ก ศพด.องค์การบริหารส่วนตำบลละงู 120

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน จำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย ตัวแทนครูจำนวน 5 คน ตัวแทนผู้ปกครองจำนวน 3 คน ผู้ใหญ่บ้านจำนวน 1 คน โต๊ะอีหม่าม 1 คน
ครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
ครั้งที่ 2 ประชุมติดตามการทำงานครั้งที่ 1 และวางแผนในการจัดกิจกรรมถัดไป และร่วมจัดทำแผนที่ทางเดินในเขตพื้นที่ ศพด.อบต.ละงู
ครั้งที่ 3 ประชุมติดตามการทำงานครั้งที่ 2 และสรุปผลการดำเนินงานโครงการ รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท
- วัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดาษ ปากกา ปากกาเคมี กระดาษบรู๊ฟ เป็นต้น เป็นเงิน 200 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 450 บาท x 3 ครั้ง เป็นเงิน 1,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- เกิดคณะทำงานโครงการจำนวน 10 คน
- มีรายงานการประชุมจำนวน 3 ครั้ง
ผลลัพธ์
- เกิดการวางแผนงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1350.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลแผนที่ทางเดินในเขตพื้นที่เส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลแผนที่ทางเดินในเขตพื้นที่เส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลแผนที่ทางเดินในเขตพื้นที่เส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู นำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การจัดการปัญหาต่อไป
รายละเอียดค่าใช้จ่าย - สมุดบันทึกข้อมูลจำนวน 120 ชุด x 20 บาท = 2,400 บาท - วัสดุอุปกรณ์ เช่น กระดาษ ปากกา ปากกาเคมี กระดาษบรู๊ฟ เป็นต้น เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2567 ถึง 30 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ได้ชุดข้อมูลจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลแผนที่ทางเดินในเขตพื้นที่เส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู จำนวน 1 ชุด ผลลัพธ์
- มีข้อมูลเชิงปริมาณจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลแผนที่ทางเดินในเขตพื้นที่เส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน ของเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู จำนวน 1 ชุด
- แผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เด็กสวมหมวกนิรภัย แก้ไขจุดเสี่ยงเส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีคืนข้อมูล อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากไม่สวมหมวกนิรภัย ร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมของชุมชนและผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู

ชื่อกิจกรรม
เวทีคืนข้อมูล อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากไม่สวมหมวกนิรภัย ร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมของชุมชนและผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวทีคืนข้อมูลผลการสำรวจจำนวนเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ข้อมูลแผนที่ทางเดินในเขตพื้นที่เส้นทางที่เด็กเดินทางมาโรงเรียน อบรมให้ความรู้เรื่องอันตรายจากไม่สวมหมวกนิรภัย ร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมของชุมชนและผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลละงู และติดประกาศข้อตกลงไว้หน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ โดยจะมีผู้เข้าร่วม ผู้ปกครองจำนวน 120 คน ผู้ใหญ่บ้าน 5 คน สมาชิก อบต. 5 คน อสม. 5 คน โต๊ะอีม่าม 5 คน ครู 9 คน รวมจำนวน 149 คน
รายละเอียดค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 149 คน x 25 บาท = 3,725 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. = 1,800 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร = 432 บาท
- ค่าป้ายไวนิลข้อตกลงขนาด 0.8 เมตร x 1 เมตร = 120 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ปากกาเคมี กระดาษบรุฟ กระดาษกาวย่น เป็นต้น = 500 บาท
- ค่าหมวกนิรภัย 120 ใบ x 200 บาท = 24,000 บาท -ป้ายติดประกาศอคลิลิคพร้อมใส่กรอบ ขนาด 60 ซม. X 120 ซม. เป็นเงิน 1,800 บาท

รวมค่าใช้จ่าย 32,377 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2567 ถึง 15 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ข้อมูลผลการสำรวจเด็กที่ไม่สวมหมวกนิรภัยได้รับการวิเคราะห์
ผลลัพธ์
- มีการตกลงกติการ่วมเพื่อแก้ไขปัญหาการไม่สวมหมวกนิรภัยของเด็กนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32377.00

กิจกรรมที่ 4 หนูน้อยปลอดภัยด้วยวินัยจราจร (เรียนรู้เรื่องวินัยจราจร สัญลักษณ์และความปลอดภัยบนท้องถนน)

ชื่อกิจกรรม
หนูน้อยปลอดภัยด้วยวินัยจราจร (เรียนรู้เรื่องวินัยจราจร สัญลักษณ์และความปลอดภัยบนท้องถนน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมสำหรับเด็ก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ณ ลานกีฬาหน้าอาคารเรียน เรียนรู้เรื่องวินัยจราจร สัญลักษณ์และความปลอดภัยบนท้องถนน
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- กรวยจราจรขนาด 10 นิ้ว จำนวน 12 อันๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- รถจักรยานเด็ก จำนวน 5 คันๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
- ชุดการเรียนป้ายจราจร จำนวน 1 ชุดๆละ 8,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 16,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - เด็กเรียนรู้เรื่องวินัยจราจร สัญลักษณ์ต่างๆบนท้องถนน ผลลัพธ์ - เด็กๆปฏิบัติตามกฎจราจร ระมัดระวังตนเองและผู้อื่นได้เมื่อโตขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16700.00

กิจกรรมที่ 5 ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย

ชื่อกิจกรรม
ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายโดยความร่วมมือจากผู้ปกครอง 120 คน ผู้แทนชุมชน 20 คน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (รพสต. 1 คน อบต. 1 คน) ลงมือปรับปรุงจุดเสี่ยงตามแผนที่วางไว้จากข้อมูลผลการสำรวจที่ได้ร่วมกันวิเคราะห์ โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันหยุด
รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารกลางวัน 142 คน x 60 บาท = 8,520 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 142 คน x 25 บาท x 2 มื้อ = 7,100 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาจุดเสี่ยง 5,000 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 20,620 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • จุดเสี่ยงในชุมชนได้รับการปรับปรุง
  • ภาคีทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการปรับปรุงจุดเสี่ยง
  • ข้อมูลจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถดำเนินการได้เองได้รับการส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20620.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์ของเด็กนักเรียนทุกวันทำการ
รายละเอียดค่าใช้จ่าย - ราวเหล็กแขวนหมวกนิรภัยมีล้อ 2 ชั้น ขนาด 50 ซม.x 3 ม.x 120 ซม. จำนวน 2 อันๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท รวมค่าใช้จ่าย 8,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2567 ถึง 30 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แบบบันทึกการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียน
  • รายงานผลการติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์ของเด็กนักเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 7 รายงานผลการติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์ของเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลการติดตามเฝ้าระวังการสวมหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานขณะเดินทางด้วยรถจักยานยนต์ของเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการเพื่อต่อยอดการดำเนินงานและส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 39 คน ประกอบด้วย ครู 9 คน ผู้แทนผู้ปกครอง 10 คน ท้องที่ 5 คน ท้องถิ่น 5 คน อสม. 5 คน โต๊ะอีหม่าม 5 คน รายละเอียดค่าใช้จ่าย
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 39 คน x 25 บาท = ุ975 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 3 ชม.x 600 บาท = 1,800 บาท
รวมค่าใช้จ่าย 2,775 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 ธันวาคม 2567 ถึง 19 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
- ผู้เข้าร่วมประชุมที่ประกอบด้วย ครู ผู้แทนผู้ปกครอง ท้องที่ ท้องถิ่น อสม. จำนวน 39 คน
ผลลัพธ์
- รายงานผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการจำนวน 1 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2775.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 84,422.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการจุดเสี่ยงและลดพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน
2. เด็กได้รับการฝึกทักษะเรื่องวินัยจราจร เรียนรู้สัญลักษณ์และความปลอดภัยบนท้องถนน และการปฏิบัติตามกฎจราจรในอนาคต
3. ผู้ปกครอง เด็ก และครูสวมหมวกนิรภัย 100 % ขณะขับขี่รถจักยานยนต์ เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ


>