กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 ”

ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางปานิมาส รุยัน

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565

ที่อยู่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-02 เลขที่ข้อตกลง 18/2565

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2565-L3351-01-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กุมภาพันธ์ 2565 - 31 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 14,100.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

จากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย พบว่าในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเบาหวาน 5 ล้านคน หรือ 1ใน 10 คนไทย ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป กำลังป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง ร้อยละ 40 ที่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต และเท้า ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียคุณภาพชีวิต อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 382 คน(HDC,2564) จากผลการดำเนินงานผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 165 คนในปีงบประมาณ 2564 จากผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมดสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (DTX) เพียง ร้อยละ 44.24จากผลการตรวจเลือดประจำปีผุ้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C มากกว่า 7 เมื่อติดตามต่อพบว่าสามารถลดน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C ได้เพียง ร้อยละ 3.00ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ต้องเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของ ตา ไต และ เท้า ตามมาในอนาคต ในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงเกินค่ามาตรฐาน จำเป็นต้องได้รับรับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต และเท้า จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 และส่งต่อผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 โรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (HbA1C มากกว่า 7)
  2. ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) และส่งต่อ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีผลตรวจ HbA1C มากกว่า 7 30

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกัน
  • ผุ้ป่วยสามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 ไม่น้อยร้อยละ 10
  • ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ร้อยละ 100-

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (HbA1C มากกว่า 7)

วันที่ 22 เมษายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • สำรวจกลุ่มเป้าหมายจากผลตรวจ Hba1C  มากกว่า 7 จาก จากปีงบประมาณ 2564
  • จัดอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน Hba1C  มากกว่า 7

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี Hba1C  มากกว่า 7 จำนวน 30 คน เข้าร่วมการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100  กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ " การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน " และ " เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ " ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการอบรม  แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ไม่ถูกต้องให้ดีขึ้น คือ ผุ้ป่วยรับประทานผลไม้ตามฤดูกาลมากเกินไป เนื่องจากมีราคาถูก ผู้ป่วยบางรายปลูกผลไม้เองที่บ้าน  รับประทานมากเกินไป ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง

 

0 0

2. ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วันที่ 13 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการแลกเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร การใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ การประกอบอาหารพบว่า  ส่วนใหญ่บ้านผู้ป่วยใช้เครื่องปรุง คือ ประเภทน้ำปลาและเกลือ ผงรสดี ซีอิ๊ว ซอสปรุงรส เมื่อรับประทานแล้วไม่มีรสชาติขาดก็เติม ทำให้เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของไต และพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อเกิดบาดแผลบางรายรักษาเอง  ไม่ได้มารับบริการที่ รพ.สต. ทำให้แผลเกิดการอักเสบ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำวิธีการดูแลเท้า  รักษาความสะอาดเท้า หากมีความผิดปกติให้รีบมารับการรักษาที่ รพ.สต. หรือ รพ. ทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

 

0 0

3. ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) และส่งต่อ

วันที่ 20 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • ติดตามกลุ่มเป้าหมายหลังการปรับเปลี่ยน
  • ส่งต่อกลุ่มป่วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จากการติดตามเจาะเลือดหาระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7% ผู้ป่วยรอบที่ 2 จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด  30  ราย  เพิ่มขึ้น 7 คน  ร้อยละ 23.33 ไม่เปลี่ยนแปลง 3 คน ร้อยละ 10 ลดลง 20 คน  ร้อยละ 66.67

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงาย จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 การแก้ไขปัญหาโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงเกินค่ามาตรฐาน Hba1C มากกว่า 7% จำเป็นต้องได้รับการรักษา ส่งเสริมและฟื้นฟูอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตา ไต และเท้า ในหมู่ที่ 2 3 4 5 6 8 จำนวน 30 ราย - ผลการดำเนินงานผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 30 ราย ที่เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านโคกชะงาย ได้พิจารณามาจากค่า Hba1C มากกว่า 7ได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยและผู้ดูแล จำนวน 30 คน หลังจากติดตามเจาะเลือดครั้งที่ 2 พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่มี Hba1C ลดลง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.64 มีค่า Hba1C ไม่เปลี่ยนแปลง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10 และมีค่า Hba1C เพิ่มขึ้น จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 ไม่มีผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน ตา ไต เท้า

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7
ตัวชี้วัด : เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 ไม่น้อยร้อยละ 10
3.00 10.00

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย ร้อยละ 100
85.00 100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีผลตรวจ HbA1C มากกว่า 7 30

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ในผู้ป่วยเบาหวาน ให้น้อยกว่า 7 (2) เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) มากกว่า 7 ส่งต่อไปโรงพยาบาลแม่ข่าย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน (HbA1C มากกว่า 7) (2) ประชุมติดตามแลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (3) ติดตามกลุ่มเป้าหมายตรวจเลือดประเมินน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) และส่งต่อ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานลดน้ำตาล ลดภาวะแทรกซ้อน ปีงบประมาณ 2565 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2565-L3351-01-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปานิมาส รุยัน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด