กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและจัดการโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-50105-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 25 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,445.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิรานันท์ บุตรบุรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 420 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน
93.25
2 ร้อยละประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
92.34
3 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
24.25
4 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
14.58
5 ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี
77.75
6 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี
50.97

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย จากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 โดยระดับคุณภาพของระบบงานในการดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังดำเนินการในลักษณะตั้งรับ แม้ว่าจะมีนวัตกรรมกิจกรรมเชิงรุกอยู่ในหน่วยบริการระดับต่างๆอยู่แล้วแต่ก็ยังไม่เป็นระบบที่ต่อเชื่อมกันได้ดีมีการจัดการกับพฤติกรรมเสี่ยงน้อย ระบบติดตามภาวะแทรกซ้อนยังขาดความต่อเนื่อง
จากการสรุปผลการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) ในปี 2565 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ พบว่าจังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี อันเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่คุกคามภาวะสุขภาพ ได้แก่การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุลการออกกำลังกายอย่างไม่เพียงพอรวมถึงการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสมจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 1,571 คน ได้รับการคัดกรองเบาหวานโดยการเจาะปลายนิ้ว จำนวน 1,465 คนคิดเป็นร้อยละ 93.25 พบประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน 372 คน โดยประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำ จำนวน 372 คน คิดเป็นร้อยละ 97.38 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.31 ในส่วนของผู้ป่วยโรคเบาหวานในปี 2565 มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนทั้งหมด 155 คน ได้รับการตรวจเลือดประจำปี จำนวน 138 คน คิดเป็นร้อยละ 89.03 มีผู้ป่วยที่คุมน้ำตาลได้ดี จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 50.97 ในส่วนของการดำเนินงานป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2565 ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,358 คน คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,254 คนคิดเป็นร้อยละ 92.34 พบประชากร กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 199 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน จำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 99.50 และมีผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 3.03 ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีผู้ป่วย จำนวนทั้งหมด 382 คน มีผู้ป่วยที่คุมคุมความดันได้ดีจำนวน 297 คน คิดเป็นร้อยละ 77.75 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ในแต่ละปีประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามแนวทางการดำเนินงานที่กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำไว้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัด (KPI) เพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD) จึงมีความจำเป็นต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมตั้งประชาชนหรือผู้ป่วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ได้นำวิธีคิด“การจัดการโรค”(Diseases Management) “รูปแบบโรคเรื้อรัง” (Chronic Care Model) และ“รูปแบบการจัดการดูแลโรคเรื้อรัง”(“Chronic Diseases Management Model”)มาบูรณาการกับกรอบความคิด“รูปแบบการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” ขององค์การอนามัยโลก จนเกิดกรอบแนวคิดบูรณาการที่ เน้น ‘ความต่อเนื่อง’ ‘บูรณาการ’และ‘ประสานดำเนินการ’ ทั้งในส่วนของการป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลเข้าด้วยกัน จึงได้จัดทำ "โครงการพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้ป่วยมีความรู้และมีความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนกลุ่มนี้ได้เข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และจัดการโรคที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต รวมถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกตามกฎหมายประกอบโรคศิลปะ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประกาศกำหนดไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป

ร้อยละของประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเบาหวานเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ95

93.25 95.00
2 เพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป

ร้อยละของประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ95

92.34 95.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชากรที่มีความเสี่ยงโรคเบาหวานจากการคัดกรอง

ร้อยละประชากรมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง

24.25 23.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชากรที่มีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง

ร้อยละของประชากรอายุ35ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตลดลง

14.58 13.00
5 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดับโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดับโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

77.75 80.00
6 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ50

50.97 55.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 46,445.00 6 38,495.00
1 - 31 ม.ค. 66 คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในชุมชนร่วมกับ อสม. 0 21,620.00 21,620.00
1 ก.พ. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องโรค อาหารและการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 6,175.00 6,175.00
1 ก.พ. 66 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 0 0.00 0.00
1 ก.พ. 66 - 31 ก.ค. 66 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 0 0.00 0.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ประเมิน CVD Risk และติดตามเยี่ยมบ้านเพื้อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงCVD riskและผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 0 0.00 0.00
20 - 28 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและเท้าพร้อมฝึกปฏิบัติ 140 18,650.00 10,700.00
1 - 15 ก.ย. 66 ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละของประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเบาหวานเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ95
  2. ร้อยละของประชากรที่มีอายุ35ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ95
  3. ร้อยละประชากรมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง
  4. ร้อยละของประชากรอายุ35ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตลดลง
  5. ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  6. ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2565 11:11 น.