กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล


“ โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ ”

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวตัสนีม สาแมแน็ง

ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ

ที่อยู่ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี จังหวัด

รหัสโครงการ 66-L5192-3-07 เลขที่ข้อตกลง 66-L5192-3-07

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา (2) ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (3) เพื่อส่งเสริมเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) (4) ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมจัดเตรียมโครงการ (2) ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (3) อบรมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเด็กปฐมวัย (4) ประเมินพัฒนาการเด็ก (5) สรุปรายงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1. ควรมีการจัดกิจกรรมแบบนี้ขึ้นบ่อยๆ เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี มีนักเรียนระดับปฐมวัยทั้งหมด 35 คน ครู 2 คน นักเรียนมีภาวะร่างกายตามหลักโภชนาการเป็นไปตามปกติ แต่มีสมรรถนะทางร่างกายและการเจริญเติบโตสมวัยคิดเป็นร้อยละ 60 เนื่องจาก ไม่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะทางกายอย่างเพียงพอและเหมาะสม สาเหตุที่สำคัญเกิดจากศูนย์ฯไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อชุดของเล่น เครื่องเล่นต่างๆ ได้ การจัดสรรรายหัวนักเรียนไม่เพียงพอ สนามเด็กเล่นชำรุด ผุพัง ขึ้นสนิมเกินกว่าจะซ่อมแซม เสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์การเล่น ซึ่งทางศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี ได้พยายามฝึกประสบการณ์ด้วยการเล่นกิจกรรมพื้นบ้านหรือวิธีอื่นทดแทน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และสามารถพัฒนาสมรรถนะทางกายให้สมวัย อีกทั้งในปัจจุบันพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นที่น่าวิตกมากเมื่อพบว่าโดยภาพรวมแล้ว เด็กปฐมวัยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้าในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เนื่องจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยมีพ่อแม่ ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ดังนั้นจึงหาของเล่นที่สำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดโดยไม่คำนึงถึงว่าของเล่นนั้นๆสามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยหรือไม่ สำหรับเด็กปฐมวัย การเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เพราะการเล่นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ฉะนั้นแล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องเข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมกับวัย เช่น ลูกแซก ระนาดดาวยิ้มม้าโยกเยก เป็นต้น เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ทำให้เด็กสนุก ร่าเริง ร่างกายแข็งแรงและทำให้ทักษะการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยก้าวไปอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในอนาคต ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสีตี ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการเล่นซึ่งนอกเหนือจากการขีดเขียนในสมุด และเพื่อให้สอดคล้องตอบสนองเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การพัฒนาเด็กให้ครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
  2. ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  3. เพื่อส่งเสริมเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
  4. ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมจัดเตรียมโครงการ
  2. ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
  3. อบรมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  4. ประเมินพัฒนาการเด็ก
  5. สรุปรายงาน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ร้อยละ 80 เด็กศูนย์ฯบ่าโร๊ะสีตีสามารถเล่นสื่อวัสดุได้อย่างสนุกสนานและมีศักยภาพด้านสมองจากเคลื่อนไหว มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน
  2. ร้อยละ 70 ของผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการเด็ก
  3. ร้อยละ 80 เด็กได้ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีสมรรถนะทางกายและภาวะการเจริญเติบโตสมวัยวัย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการและกิจกรรมที่ได้ดำเนินการตามแผนปี 2566 รหัสแผนงาน/โครงงาน/กิจกรรม ชื่อแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประเภทกิจกรรม งบประมาณ งบประมาณที่ใช้ไป งบประมาณคงเหลือ 66-L5192-3-07 โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ สนับสนุนการจัดกิจกรรมของศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/พิการ 63,295 63,295 ๐

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดเตรียมโครงการ 1.ประชุมจัดเตรียมโครงการ ผู้เข้าประชุมได้แก่ ประธานศูนย์ฯ 1 คนคณะกรรมการศูนย์ฯ 5 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 5 คน ครู 2 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน รวมทั้งสิ้น 14 คน - ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอที่มา ความสำคัญ ปัญหาและการจัดตั้งโครงการ และนำเสนอแผนงานโครงการ - ผู้เข้าร่วมประชุมระดมสมองพิจารณาแผนงานที่กำหนด - จัดทำแผนปฏิบัติการของโครงการ งบประมาณจากกิจกรรมที่ 1   1 1.ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมเตรียมโครงการ จำนวน 14 คน 25 บาท /มื้อ/คนเป็นเงิน 350 บาท   1.2. ค่าป้ายไวนิล คิดตารางเมตรละ 150 บาท ขนาด 4*2 เมตร 1 ป้าย * 1,500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,850 บาท กิจกรรมที่ 2 ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ครูผู้ดูแลเด็กปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก งบประมาณ 1.สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย 1.1. ม้ากระดกหมีและเพื่อน ราคา 3,950บาท * 2 ตัว เป็นเงิน 7,800 บาท 1.2. ลูกลื่นฝึกความสัมพันธ์ แสงและเงา ขนาด 40-2940 ซม. ราคา 2,400 บาท * 4 ชุดเป็นเงิน 9,600 บาท 1.3. โยนห่วงมหัศจรรย์ ขนาด 404.52.5 ซม. ราคา 995 บาท * 4 ชุด เป็นเงิน 3,980 บาท 1.4. โยกเยกปลาน้อยน่ารัก ราคา 2,500 บาท * 2 ชุด เป็นเงิน 5,000 บาท 1.5. โยกเยกม้าหรรษา ราคา 2,500 บาท * 2 ชุดเป็นเงิน 5,000 บาท 2.สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์
2.1. ระนาดดาวยิ้ม ขนาด 28.51916.5 ซม. ราคา 950 บาท * 4 ชุด เป็นเงิน 3,800 บาท
2.2. ลูกแซกไม้ใหญ่ (คู่) ขนาด 7.5 นิ้ว ราคา 500 บาท * 4 ชุด เป็นเงิน 2,000 บาท
3.สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
3.1 ชุดกระเป๋าหมอฟัน ขนาด 211615 ซม. ราคา 700 บาท * 2 ชุด เป็นเงิน 1,400 บาท
3.2. โต๊ะพี่หมีฝึกทักษะงานช่าง ขนาด 412531 ซม. ราคา 1,800 บาท 2 เป็นเงิน 3,600 บาท
4. สื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านปัญญา
4.1. ภาพตัดต่อรูปมือสอนนับเลข ขนาด 2222 ซม. ราคา 590 บาท * 6 เป็นเงิน 3,540 บาท
4.2. จับคู่นุ่มนิ่มผลไม้ จำนวน 36 ชิ้น ราคา 3,000 บาท * 2 ชุด เป็นเงิน 6,000 บาท 8. จุดคัดกรองโควิท 19 8.1 อ่างล้างมือ ราคา 2,150 บาท * 1 อ่าง เป็นเงิน 2,150 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 53,870 บาทถ้วน กิจกรรมที่ 3 อบรมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเด็กปฐมวัย 1.พิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โดย นายวีรชาติสาแมแน็ง
2.บรรยายเรื่อง "การอบรมพัฒนาการเด็กปฐมวัย"โดยวิทยากร จาก รพ.สต. pcu 3 จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท * 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท โดยมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้
เวลา 08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เวลา 09.00-09.10 น. นายวีรชาติ สาแมแน็ง กล่าวเปิดพิธี เวลา 09.10-09.20 น. นางสาวตัสนีมสาแมแน็ง กล่าววัตถุประสงค์โครงการ
เวลา 09.20-10.00 น. ความสำคัญของพัฒนาต่อสติปัญญาการเรียนรู้ การเข้าสังคม และทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กปฐมวัย
เวลา 10.00-11.00 น. บทบาทของผู้ปกครองการส่งเสริมพัฒนาการ การดูแลเด็กในปกครอง กรณีมีพัฒนาการล่าช้า
เวลา 11.00-11.30 น. แนวทางในการแก้ไขและส่งเสริมพัฒนาการในเด็กปฐมวัย
เวลา 11.30-12.00 น. รับอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม
เวลา 12.00 น.เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ
3.จัดซื้อชุดประเมินพัฒนาการ DSPM ช่วงอายุ 0-6 ขวบ ราคา 4,500 บาท * 1 เป็นเงิน 4,500 บาท
4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมจำนวน 35 คน * 25 บาท เป็นเงิน 875 บาท รวมทั้งสิ้น 7,175 บาทถ้วน

กิจกรรมที่ 4ประเมินพัฒนาการเด็ก ประเมินพัฒนาการเด็ก
1. เอกสารประเมินพัฒนาการจำนวน 1 ชุด 2. แบบประเมินพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้านจำนวน 35 ชุดราคา 50 สตางค์/แผ่น100 * 0.50เป็นเงิน 50 บาท
2.1 ด้านร่างกาย
2.2 ด้านอารมณ์-จิตใจ
2.3 ด้านสังคม
2.4 ด้านสติปัญญา

กิจกรรมที่ 5 สรุปรายงาน 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 14 คน / 25 บาท เป็นเงิน 350 บาท
2.เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน 2 เล่ม เป็นเงิน 0 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 350 บาท *ถัวเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการ รวม ........63,295.........บาท

ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง 1. ร้อยละ 80 เด็กศูนย์ฯบ่าโร๊ะสีตีสามารถเล่นสื่อวัสดุได้อย่างสนุกสนานและมีศักยภาพด้านสมองจากเคลื่อนไหว มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน 2. ร้อยละ 70 ของผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการเด็ก 3. ร้อยละ 80 เด็กได้ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมัดเล็กกล้ามเนื้อมัดใหญ่ มีสมรรถนะทางกายและภาวะการเจริญเติบโตสมวัยวัย/ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อแผนงาน โครงการ/กิจกรรม หนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ 1. ผลดำเนินงาน การจัดโครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ มีนักเรียนชั้นอนุบาล ครูผู้ดูแลเด็ก ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสิตี นักการภารโรง เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน โดย นายวีรชาติ สาแมแน็ง รองประธานศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ่าโร๊ะสิตี เป็นผู้กล่าวเปิดพิธี และให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทุกท่าน ในเรื่อง พัฒนาการทั้ง 4 ด้านในเด็กปฐมวัยให้ผู้เข้าร่วมฟัง โดยสอดแทรกปัญหาปัจจุบันเรื่องโทรศัพท์มือถือที่เด็กมักจะติดหน้าจอตั้งแต่อายุ 1 ขวบ จนทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า สมาธิสั้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางด้านร่างกาย สติปัญญา สมองที่เชื่องช้าอีกด้วย ในลำดับต่อไปผู้จัดทำโครงการ นางสาวตัสนีมสาแมแน็ง เป็นผู้กล่าวรายงาน ชี้แจงรายละเอียดของโครงการและวัตถุประสงค์ และวิทยากร 1 ท่าน นายจีฮาน สาเม๊าะ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. pcu3เป็นผู้ให้ความรู้ เรื่อง “ความสำคัญของการพัฒนาต่อสติปัญญาการเรียนรู้ การเข้าสังคมและทักษะการช่วยเหลือตนเองในเด็กปฐมวัย” และสาธิตการใช้ของเล่นให้ถูกวิธี เลือกซื้อของเล่นตามช่วงอายุของแต่ละวัย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการทั้ง 1 ด้านของนักเรียน โดยผู้เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ได้รับความรู้จากวิทยากรตลอดจนการสาธิตการใช้ของเล่นให้ถูกวิธี ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปต่อยอดนำกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันของลูก หลานตนเองอีกด้วย โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ จัดขึ้นในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ณ อาคารอเนกประสงค์โรงเรียนอุปถัมภ์ศาสน์ 2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์     บรรลุตามวัตถุประสงค์                   ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะ .............................................................................. 2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมในแผนงาน โครงการ/กิจกรรม 40 คน 3. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 63,295 งบประมาณที่เบิกจ่ายจริง 63,295 คิดเป็นร้อยละ ......100............ งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุน  0    คิดเป็นร้อยละ .......0........... งบประมาณสมทบจากสถานศึกษา  0 คิดเป็นร้อยละ .......0........... 4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน           ไม่มี                 มี ระบุ ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขในการดำเนินงานที่ผ่านมา ปัญหาและอุปสรรค การนำปัญหาและอุปสรรคมาปรับปรุงแก้ไข



ลงชื่อ... ...ผู้รายงาน       (นางสาวตัสนีม สาแมแน็ง) ตำแหน่ง หัวหน้าวิชาการ วันที่-เดือน-ปี 28 กันยายน 2566 ผลการวิจัย ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับแบบประเมินของผู้ตอบแบบประเมินดำเนินการเก็บรวมรวมแบบประเมินโครงการที่สมบูรณ์ 40 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ข้อที่ รายการประเมิน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 1 เพศ ชาย หญิง
3 37
7.50 92.50 รวม 40 100.00 2 อายุ อายุต่ำกว่า 15 ปี อายุ 15 – 25 ปี อายุ 25 – 35 ปี อายุ 35 ปีขึ้นไป
0 0 18 22
0.00 0.00 45.00 55.00 รวม 40 100.00 3 สถานภาพผู้ตอบ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน นักเรียน/นักศึกษา ประชาชน อื่นๆ ...............................
0 0 13 2 25 0
0 0 32.50 5.00 62.50 0 40 100.00

จากตารางที่ 1พบว่า กลุ่มตัวออย่างส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบประเมินเป็นเพศหญิง จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีค่าน้อยของผู้ตอบแบบประเมินเป็นเพศชาย จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 7.50ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบประเมินอยู่ในช่วงอายุดังต่อไปนี้ อายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 0 คิดเป็นร้อยละ 0.00 อายุ 15 – 25 ปี จำนวน 0 คิดเป็นร้อยละ 0.00 อายุ 25 – 35 ปี จำนวน 18 คิดเป็นร้อยละ 45.00 อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 22 คิดเป็นร้อยละ 55.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ของผู้ตอบแบบประเมินมีสถานภาพการทำงาน/หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน จำนวน 25 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 62.50 กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 13 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 32.50 และกลุ่มตัวอย่างส่วนน้อยของผู้ตอบแบบประเมินมีสถานภาพเป็นประชาชนทั่วไป จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.00 ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินภาพรวมการจัดกิจกรรม ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย X และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. ของการประเมินภาพรวมจากการจัดกิจกรรม โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ

ข้อที่ รายการประเมิน N = 40 ระดับ X S.D.
1 การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อท่าน 3.93 0.41 ดีมาก 2 ท่านได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 4.00 0.00 ดีมาก 3 ท่านได้รับความรู้/ประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อไปปรับใช้ได้ 4.45 0.55 ดีมาก 4 รูปแบบ/หัวข้อ ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม 4.45 0.86 ดีมาก 5 ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม 4.63 0.70 ดีมาก 6 การประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม 4.15 0.36 ดีมาก 7 สถานที่จัดกิจกรรมมีความเหมาะสม 4.78 0.47 ดีมาก 8 เจ้าหน้าที่สามารถให้ข้อมูล หรือตอบซักถามได้เป็นอย่างดี 4.83 0.38 ดีมาก 9 เจ้าหน้าที่มีความสุภาพ เป็นมิตร และเป็นกันเอง 4.60 0.58 ดีมาก 10 ภาพรวมความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ 4.85 0.48 ดีมาก รวม 44.65 4.97 ดีมาก

จากตารางที่ 2 พบว่า ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ ต่อการประเมินภาพรวมการจัดกิจกรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ ดีมาก มีค่าเฉลี่ย X = 44.65 และ S.D.= 4.97 ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการสรุปผลการประเมินในภาพรวมโครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ ข้อเสนอแนะ จากผู้เข้าร่วมโครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ 1. โครงการดีมากอยากให้ทำอีก 2. ควรให้มีกิจกรรมจัดขึ้นบ่อยๆ เพื่อเป็นความรูแก่ผู้ปกครองและนักเรียน บุคคลทั่วไป 3. มีบ่อยๆ ยิ่งดีค่ะ เพื่อได้เป็นความรู้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ที่ลดลง
50.00 70.00 70.00

นักเรียนมีพัฒนาการล่าช้าทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ลดลง โดยใช้ชุด DSPMในการพัฒนาการเด็กครั้งนี้

2 ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ตัวชี้วัด : ลดอัตราผู้ปกครองที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
60.00 80.00 80.00

ผู้ปกครองได้รับความรู้จากวิทยากรไม่มากก็น้อยแล้วนำต่อยอดกับลูกหลานของตนเองให้มีพัฒนาการที่สมวัยตามช่วงอายุ

3 เพื่อส่งเสริมเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
60.00 80.00 80.00

นักเรียนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง จากการใช้ของเล่นเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ทั้งนอกห้องเรียนและในห้องเรียน

4 ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)ที่ดีขึ้นและเพิ่มขึ้น
60.00 80.00 80.00

ครูมีการจัดการเรียนการสอนแบบ(Active play active learning) ทำให้เด็กๆ มีพัฒนาการที่สมวัย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ร้อยละของเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการล่าช้า ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา (2) ร้อยละของผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (3) เพื่อส่งเสริมเด็กให้มีสมรรถนะทางกายเพียงพอ(ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) (4) ร้อยละของเวลาในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเรียนการสอนแบบกระฉับกระเฉง(Active play active learning)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมจัดเตรียมโครงการ (2) ปรับปรุงมุมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (3) อบรมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการเด็กปฐมวัย (4) ประเมินพัฒนาการเด็ก (5) สรุปรายงาน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1. ควรมีการจัดกิจกรรมแบบนี้ขึ้นบ่อยๆ เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการหนูน้อยวัยใส ใส่ใจสุขภาพ จังหวัด

รหัสโครงการ 66-L5192-3-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวตัสนีม สาแมแน็ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด