กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู


“ โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566 ”

ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นางสาวรัชนี เอ็มเล่ง

ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566

ที่อยู่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 66-L5313-03-004 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 29 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 66-L5313-03-004 ระยะเวลาการดำเนินงาน 29 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 61,081.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต ช่วงอายุ 2-5 ปี เป็น “โอกาสทอง” ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของเด็กในชุมชน เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องร่วมใจ ให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ทั้งในส่วนของครอบครัว ร้านอาหาร ตลาด ที่มีการผลิตและสนับสนุนอาหารดี สุขภาพดี ชีวิตเป็นสุขในกลุ่มเด็กเล็กมื้อเช้าถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต และพัฒนาการในทุกๆด้านของชีวิต เมื่อเด็กวัยนี้ได้รับการเลี้ยงดูทางกายและจิตใจอย่างถูกต้อง อาหารและโภชนาการที่เหมาะสม เป็นปัจจัย ที่สำคัญ ในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ซึ่งอยู่ในเขตบริการทั้งหมด 5 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3
หมู่ที่ 7 หมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 18มีนักเรียนรวมทั้งหมด 57 คนจากการสำรวจภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัยโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แล้วนำมาแปรผลทุก 3 เดือน พบเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 22 คน น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 20 คน น้ำหนักเกินเกณฑ์ 2 คนสาเหตุเนื่องจากเด็กรับประทานอาหารที่เป็นขนมขบเคี้ยวแทนอาหารเช้าและผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ไม่มีเวลาต้องเร่งรีบไปทำงานขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กและผู้ปกครองมีรายได้น้อย ดังนั้น ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู จัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ปี 2566 ขึ้นเพื่อให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้า เพื่อช่วยส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็ก และการปลูกผักสวนครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์
  2. เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
  3. ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย
  4. เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. เตรียมความพร้อม
  2. 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้
  3. 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล
  4. 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์
  5. 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว
  6. 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและภาววะโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 2.เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีและมีพัฒนาการตามวัย 3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีน้ำหนักและส่วนสูงตามวัย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. เตรียมความพร้อม

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นตอนที่ ๑ สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์และเด็กที่มีน้ำหนักเกินโดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็กเมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหาคือเด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ส่วนใหญ่คือผู้ปกครองเร่งรีบกับการไปทำงานและมีรายได้น้อยจึงไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารเช้าให้กับเด็กผู้ปกครองมักจะซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยวให้รับประทานแทนอาหารเช้า สอดคล้องกับสภาพปัญหาเด็กที่ไม่ชอบรับประทานอาหารกลางวัน ชอบทานแต่ขนมซองขนมขบเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมตามวัยจากการสำรวจดังกล่าวพบเด็กที่มีน้ำหนักน้อย จำนวน๒๐ คน และเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน๒คน รวมเด็กที่มีภาวะทุปโภชนาการทั้งหมด๒๒ คน ขั้นตอนที่๒ นำเสนอโครงการต่อกองศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นนำโครงการ ดังกล่าวเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยกำหนดงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล(สปสช.)ตำบลละงู ขั้นตอนที่๓ ประชุมคณะครูเพื่อนำเสนอของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล(สปสช.)ตำบลละงู

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

0 0

2. 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อที่วัดส่วนสูงจำนวน1ชุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีที่วัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน

 

0 0

3. 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นวางแผน (P) - ประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงาน - แต่งตั้งคระกรรมการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบขั้นดำเนินการ(D) -ดำเนินกิจกรรมอบรมเรื่องการ จัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล ขั้นประเมินผล (C) -สรุปผลการดำเนินกิจกรรมสรุปและรายงานผลการดำเนินงานขั้นปรับปรุงพัฒนางาน(A) -นำผลการดำเนินกิจกรรมมาวิเคราะห์ปรับปรุงพัฒนาเพื่อว่างแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

 

0 0

4. 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน22คนเป็นเวลา80วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการการได้รับประทานอาหารเช้าทุกคนและมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ดีขึ้น

 

0 0

5. 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว

วันที่ 29 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การเกษตรพันธ์ผักสวนครัว -ครูและเด็กช่วยกันปลูกผักภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กภายในศูนย์ฯโดยมีเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กช่วยกันดูแลผักเมื่อมีการเก็บผักมาปรุงอาหาร เพื่อให้เด็กกินผักที่ปลอดสารพิษ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและพันธ์ผักสวนครัวเพื่อเตรียมไว้จัดกิจกรรมให้เด็กๆในศูนย์ฯ -เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัว เด็กมีความสุขสนุกสนาน ในการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

 

0 0

6. 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

วันที่ 30 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-จัดซื้อลำโพงพร้อมไมค์โครโฟน -จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเต้นแอโรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ1ชั่วโมง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีลำโพงที่ได้มาตรฐาน -เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพแข็งเเรงเหมาะสมตามวัยมีความสุข สนุกสนานกับการทำกิจกรรม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์
ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ลดลง
22.00 20.00

เด็กมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 2 คน เด็กมีน้ำหนักตามเกณฑ์ 20 คน

2 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัย
22.00 22.00

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัย

3 ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย
ตัวชี้วัด : ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย
62.00 62.00

ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

4 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ตัวชี้วัด : นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาที/วัน)
62.00 62.00

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ออกกำลังกานวันละ 60 นาที/วันก่อนเริ่มเรียน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0 62
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ (2) เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (3) ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย (4) เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. เตรียมความพร้อม (2) 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ (3) 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล (4) 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์ (5) 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว (6) 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านปากละงู ประจำปี 2566 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 66-L5313-03-004

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวรัชนี เอ็มเล่ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด