กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็ก ก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านลาหงา ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5313-03-007
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านลาหงา
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 59,161.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุกัยย๊ะ สำสู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 51 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ได้แก่ ปัจจัยทางคุณลักษณะของมารดา ปัจจัยทางคุณลักษณะทางประชากรของทารก ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยในการบริโภคอาหารของเด็ก การป้องกัน ภาวะทุพโภชนาการในเด็กสามารถทำได้โดย วิธีการวัดและประเมินภาวะโภชนาการ และผลกระทบที่เกิดจาก ภาวะทุพโภชนาการในเด็ก สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การมีโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และ 2.การมีโภชนาการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานโภชนาการต่อพัฒนาการเด็ก คือช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโต และพัฒนาการในทุกๆด้านของชีวิต เมื่อเด็กวัยนี้ได้รับการเลี้ยงดูทางกายและจิตใจอย่างถูกต้อง อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านลาหงา มีเด็กในเขตบริการ หมู่ที่ 4 และ 6 ตำบลละงู มีพื้นที่ประมาณ ๓๒๔ ตารางเมตร เด็กที่เข้าเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 55 คน มีภาวะทุพโภชนาการจำนวน 20 คน เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ แยกเป็น เด็กผอม จำนวน 10 คน เด็กเตี้ย คิดเป็นร้อยละ ๑๘จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๑ เด็กที่มีภาวะโภชนาการสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เด็กอ้วนและค่อนข้างอ้วน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 7 ของนักเรียนทั้งหมด มีปัญหาด้านโภชนาการ ดังนี้ไม่รับประทานผัก รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ น้ำหนักน้อย น้ำหนักเกินเกณฑ์ ไม่สมส่วน เด็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาจากบ้าน สาเหตุเนื่องจาก ผู้ปกครองไม่มีเวลาต้องเร่งรีบไปทำงานและไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็ก ไม่ได้ทำอาหารรับประทานเอง มีรายได้น้อย พฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กจะเป็นได้ยากและช้า เนื่องจากเด็กจะเลือกรับประทานในสิ่งที่เด็กชอบและเคยชิน ดังนั้นศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านลาหงา จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านลาหงา ปี พ.ศ.2566ขึ้น เพื่อให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี เหมาะสมตามวัย ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการภาวะโภชนาการสำหรับเด็กและการดูแลสุขภาวะในเด็กปฐมวัย การปลูกผักสวนครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/ เกินเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์/เกินเกณฑ์ลดลง

20.00
2 เพิ่มการกินอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ได้กินอาหารที่เหมาะสมตามกับวัย

20.00
3 ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

ครูและและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

55.00
4 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

นักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมากอย่างน้อยที่สุด 60 นาที/วัน)

55.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,161.00 6 59,161.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 1. เตรียมความพร้อม 0 0.00 0.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ 0 2,700.00 2,700.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล 0 8,196.00 8,196.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์ 0 32,000.00 32,000.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว 0 8,365.00 8,365.00
29 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย 0 7,900.00 7,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กมีสุขภาพดี มีพัฒนากการทางร่างกาย และสติปัญญาสมวัย 2.ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแล ร่วมแก้ปัญหาโภชนาการในเด็กปฐมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2566 00:00 น.