กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
6. กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมหนูน้อยสดใส ใส่ใจออกกำลังกาย 1. จัดทำตารางการเต้นแอโรบิคขั้นพื้นฐานที่เหมาะสำหรับเด็ก 2. จัดกิจกรรมฝึกทักษะการเต้นแอโรบิคในตอนเช้าทุกวันๆละ ๑ ชั่วโมง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กในศูษย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมาะสมตามวัย มีความสุข สนุกสนานกับการทำกิจกรรม

5. กิจกรรมบูรณาการกิจกรรมทางกายควบคู่กับการเกษตรปลูกพืชผักสวนครัว29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ครูและเด็กช่วยกันปลูกผักภายใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและเป็นแหล่ง เรียนรู้ให้กับเด็กทุกคนภายในศูนย์ฯ โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็ก ช่วยกันดูแลผัก เมื่อผักสามารถ รับประทานได้จึงมีการเก็บผักมา ปรุงอาหาร เพื่อให้เด็กกินผักที่ ปลอดสารพิษ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัว เด็กมีความสุขสนุกสนาน ในการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

4. กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ครูผู้ดูแลเด็กจัดเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมและมีประโยชน์กับเด็กที่มีภาวะโภชนาต่ำกว่าเกณฑ์
  • ทุกวันทำการ ติดตามและประเมินผลเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการ ทุกๆ ๑ เดือน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก และสะท้อนปัญหาทุพโภชนาการของเด็กรายบุคคล อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน เพื่อให้ ความรู้เกี่ยวกับการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก ตามหลักโภชนาการ และภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย แนวทางแก้ไขปัญหาทุพ โภชนาการในเด็กปฐมวัย ครู จำนวน ๔ คน ผู้ปกครอง จำนวน ๕๑ คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ครูและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับวัย

2. กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการ

รายยละเอียดของกิจกรรมดังนี้ - ครูผู้ดูแลเด็กตรวจประเมินน้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อเป็นการคัดกรอง และเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก - จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก - ประเมินภาวะโภชนาการ ทุก ๑ เดือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลและที่วัดส่วนสูงได้

1. เตรียมความพร้อม29 มีนาคม 2566
29
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนฯตำบลละงู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตาม เกณฑ์และเด็กที่มีน้ำหนักเกิน โดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อ ได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าวจากการสำรวจ พบว่ามีเด็กที่มีปัญหาแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่         กลุ่มที่ 1 เด็กที่น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่เร่ง รีบกับการไปทำงาน จึงไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารเช้าให้กับเด็ก บางครั้งมักจะซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยวให้ รับประทานแทนอาหารเช้า สอดคล้องกับสภาพเด็กที่ไม่ชอบ ทานอาหารเที่ยง เนื่องจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่ไม่เหมือนกับ อาหารสำเร็จรูปหรือขนมขบเคี้ยว ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ที่ไม่เหมาะสมตามวัย จำนวน ๑๖ คน
        กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 4 คน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอโครงการต่อกองศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนา การศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นนำโครงการดังกล่าวเข้าสู่แผนปฏิบัติกาว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยกำหนด งบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงู ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะครูเพื่อนำเสนอของบประมาณจากสำนักงาน กองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลละงู

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จำนวนเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ