กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู


“ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู) ”

ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายนัสรน เล็งเจ๊ะ

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู)

ที่อยู่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 67-L5313-03-001 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู) จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 67-L5313-03-001 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 83,132.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล เป็นหน่วยงานที่gให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการ ให้บริการครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดสตูล ได้แก่ หน่วยบริการบริการท่าแพ
หน่วยบริการละงู หน่วยบริการทุ่งหว้า หน่วยบริการมะนัง หน่วยบริการควนกาหลง หน่วยบริการควนโดน และหน่วยบริการเมืองฉลุง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล  เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย และในปัจจุบัน สังคมไทยมุ่งเน้นการจัดระบบสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายโดยรัฐอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง มีการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านกฎหมาย นโยบาย แผนงานต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กพิเศษมากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงเราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ยังมีจำนวนเด็กพิเศษอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคม ทำให้ขาดโอกาสในการเรียนรู้ สู่สังคมภายนอก อันเนื่องจากครอบครัวเด็กพิเศษขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิเศษเหล่านั้นออกสู่สังคมภายนอก อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่  ยังขาดความเข้าใจและขาดการยอมรับเด็กพิเศษเท่าที่ควร  ซึ่งส่งผลให้เด็กพิเศษเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของแต่ละบุคคล ขาดทักษะการดำรงชีวิต จากประสบการณ์จริงในการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคม “ครอบครัวเด็กพิเศษ” เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กพิเศษ เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือดูแลเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง หากครอบครัวเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเด็กพิเศษจากผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญ หรือจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ย่อมส่งผลให้ครอบครัวเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดี ต่อเด็กพิเศษมากขึ้น และหากเด็กพิเศษเองได้มีกระบวนการเรียนรู้ทักษะต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ก็ย่อมส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้อย่างรอบด้านตามศักยภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า มีบางกลุ่มครอบครัวเด็กพิเศษที่ยังขาดโอกาสนำเด็กพิเศษเข้าบำบัดกับคลีนิคเฉพาะทาง ขาดโอกาสในการพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กพิเศษโดยตรง เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอยู่จังหวัดที่ห่างไกล และบางครอบครัวไม่สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ เทคนิค วิธีการในการพัฒนาเด็กพิเศษที่บ้าน ตลอดจนได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็กพิเศษและครอบครัวได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย       ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการละงู ให้บริการเด็กพิเศษในอำเภอละงู จำนวนทั้งสิ้น 49 คน โดยแบ่งเป็นผู้เรียนที่มารับบริการรูปแบบไป-กลับ จำนวน 44 คน และรับบริการรูปแบบตามบ้าน จำนวน 5 คน ดังนี้ ตำบลกำแพง 16 คน ตำบลละงู 17 คน ตำบลปากน้ำ 11 คน ตำบลน้ำผุด 1 คน ตำบลเขาขาว 4 คน ตำบลแหลมสน 0 คน สำหรับกลุ่มเป้าหมายในโครงการครั้งนี้ใช้กลุ่มเป้าหมายเฉพาะของตำบลละงูประกอบด้วย นักเรียนศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล เขตพื้นที่ตำบลละงู จำนวน 17 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านท่าชะมวง จำนวน 12 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านนาพญา จำนวน 3 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านลาหงา จำนวน 3 คน รวมกลุ่มเป้าหมายตำบลละงูทั้งหมด จำนวน 35 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเด็กพิเศษในวัยเรียนและเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าในแต่ละด้านแตกต่างกันขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละบุคคล บางคนมีพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน จึงมักมีปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆ ทั้งปัญหาสุขภาพช่องปาก ปัญหาสุขภาพทางร่างกาย การมีน้ำหนักที่มากเกินไปและน้อยเกินไป จนส่งผลเกิดการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย และก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เรื้อรังตามมา อีกทั้งเด็กพิเศษไม่ค่อยได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี จึงทำให้ไม่มีการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งความรู้ เทคนิค วิธีการของ ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และผู้ดูแลเด็กพิการ ที่ยังขาดทักษะการปรับพฤติกรรมและการสื่อสารของเด็กพิการตลอดจนการได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพ การปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เสริมพฤติกรรมทางบวก และการฝึกกระตุ้นการพูดของเด็กพิเศษ เป็นต้น ให้สอดคล้องกับประเภทความพิการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
      ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการละงู จึงเล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การดูแลสุขภาพส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างถูกวิธี และการเรียนรู้เทคนิควิธีการกระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารของเด็กพิการในสถานการณ์จำลองตามกลุ่มประเภทความพิการ สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ จึงขอเสนอ“โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู) ” เพื่อให้เด็กพิเศษและครอบครัวได้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้าน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสม
  2. เพื่อให้เด็กพิการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  3. เพื่อให้ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และผู้ดูแลเด็กพิการ ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการกระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารของเด็กพิการในสถานการณ์จำลองตามกลุ่มประเภทความพิการ สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดอบรมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปาก และการตรวจสุขภาพเด็กพิการ
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการ กระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 48
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสม   2. เด็กพิการกลุ่มเป้าหมายในโครงการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี   3. ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และผู้ดูแลเด็กพิการ ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการกระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารของเด็กพิการในสถานการณ์จำลองตามกลุ่มประเภทความพิการ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดอบรมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปาก และการตรวจสุขภาพเด็กพิการ

วันที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ขั้นวางแผน (P) -เสนอแผนโครงการเพื่อขออนุมัติ -แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ -ประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานตามแผนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ (D) -ดำเนินกิจกรรมอบรมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปาก และการตรวจสุขภาพเด็กพิการ -หัวข้อเรื่อง การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้สำหรับครองครัวดูแลคนพิการ(การทัศนคติเชิงบวกและการดูแลคนพิการทุกประเภท) -หัวข้อเรื่อง รู้เเละเข้าใจห่างไกลโรคระบาดสำหรับครอบครัวผู้ดูแลคนพิการ -หัวข้อเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพอนามัยอย่างถูกวิธีและการดูแลช่องปาก -ตรวจสุขภาพตามคลินิค(ชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง,ตรวจการได้ยิน,ตรวจสายตาเเละตรวจสุขภาพช่องปาก)และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ ชั้นประเมินผล (C) -สรึปผลการดำเนินกิจกรรมสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน ขั้นปรับปรุงพัฒนางาน (A) -นำผลการดำเนินกิจกรรมมาวิเคราะห์ปรับปรุงและพัฒนาเพื่อวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-กลุ่มเป้าหมาย คนพิการ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ ได้รับการดูแลส่งเสริมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพทำให้มีการพัฒนาการด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจรอบด้าน -เด็กพิการ ได้รับการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

 

83 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 87 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสม
6.00

 

2 เพื่อให้เด็กพิการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 87 ของเด็กพิการกลุ่มเป้าหมายในโครงการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
6.00

 

3 เพื่อให้ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และผู้ดูแลเด็กพิการ ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการกระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารของเด็กพิการในสถานการณ์จำลองตามกลุ่มประเภทความพิการ สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 87 ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และผู้ดูแลเด็กพิการ ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการกระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารของเด็กพิการในสถานการณ์จำลองตามกลุ่มประเภทความพิการ
6.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 83
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน 48
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ  สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสม (2) เพื่อให้เด็กพิการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี (3) เพื่อให้ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และผู้ดูแลเด็กพิการ ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการกระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารของเด็กพิการในสถานการณ์จำลองตามกลุ่มประเภทความพิการ สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดอบรมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปาก และการตรวจสุขภาพเด็กพิการ (2) อบรมเชิงปฏิบัติการ กระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรมและการสื่อสารสำหรับบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้พิการและส่งเสริมสุขภาพประจำปี ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล (หน่วยบริการละงู) จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 67-L5313-03-001

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายนัสรน เล็งเจ๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด