กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า


“ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561 ”

เทศบาลตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
ชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561

ที่อยู่ เทศบาลตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L8009-2-006 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561 จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน เทศบาลตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ เทศบาลตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 61-L8009-2-006 ระยะเวลาการดำเนินงาน 4 กุมภาพันธ์ 2561 - 28 กุมภาพันธ์ 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,048.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาโดยตลอดเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดสตูลยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสตูลมีสถานการณ์ความรุนแรงของการเกิดโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นในทุกอำเภอ จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยา กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมทางระบาดวิทยา ในวันที่ 1 มกราคม 2560 – 30 พฤศจิกายน 2560 มีรายงานผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกทั้งหมด 66 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 21.07 ต่อประชาการแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 3.03 มีการระบาดทุกอำเภอ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ อำเภอมะนัง อัตราป่วยเท่ากับ 54.11 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอท่าแพ อำเภอเมือง อำเภอละงู อำเภอควนกาหลง และอำเภอควนโดน อัตราป่วยเท่ากับ 42.30 , 42.05 , 22.44 , 11.31 , 8.78 และ 7.73 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับในส่วนของหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จังหวัด สตูล ไม่มีรายงานการป่วยด้วยโรคไข้เลือดเมื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีทางกีฎวิทยา จากการสุ่มประเมินของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ค่า HI , CI สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและต่อเนื่องต่อไป (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ ; 2560) และส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 10 – 14 ปี รองลงมา คือ อายุ 5 – 9 ปี และ 15 – 24 ปี เนื่องจากจังหวัดสตูลมีลักษณะภูมิประเทศ แบบมรสุมเขตร้อนซึ่งจะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูฝน เพราะง่ายต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลายซึ่งพาหะนำโรคไข้เลือดออก ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้แก่เยาวชนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้นในชุมชนพร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้เยาวชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และชักนำให้ประชาชน องค์กร ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องดำเนินการ ดังนั้นหมู่ที่ 3 บ้านในบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า
อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เพื่อให้โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกกลับมาเกิดขึ้นในชุมชนอีกต่อไป ซึ่งโครงการนี้หวังว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการและชุมชนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อที่ 1 เพื่อให้ อสม. น้อยจำนวน 70 คน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธีและเหมาะสม
  2. ข้อที่2 เพื่อให้ อสม.น้อยจำนวน 70 คน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
  3. ข้อที่ 3เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. โครงการพํมนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. อสม.น้อยมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและสามารถถ่ายทอดความรู้สู่เยาวชนในชุมชนได้ 2. อสม.น้อยสามารถประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก วิธีการป้องกัน และสามารถควบคุมโรคด้วยตนเองให้กับประชาชนในชุมชนได้ 3. อสม.น้อยสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. โครงการพัมนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561

กิจกรรมที่ทำ

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้านตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ อสม.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน และลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยมีการดำเนินโครงการในวันอาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 70 คน สำหรับผลการดำเนินการจัดโครงการสรุปได้ดังนี้ 1.1 มีการประเมินความรู้จากแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง อบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกภัยร้าย ใกล้ตัวคุณ ผู้จัดทำโครงการได้จัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบทดสอบประเมินความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งผลสรุปจากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังดังนี้ - มีผลการประเมินความรู้ก่อนอบรมให้ความรู้ คิดเป็นร้อยละ 56 และผลการประเมินความรู้หลังอบรมให้ความรู้ คิดเป็นร้อยละ 92 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังการอบรมให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น 1.2 การประเมินผลการลดลงของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายจากการเดินรณรงค์สำรวจลูกน้ำของ อสม.น้อย หลังทำโครงการ ในกมีารจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 70 คน โดยมีกิจกรรมการเดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ระยะการสำรวจก่อนทำโครงการ18 กุมภาพันธ์ 2561
- จำนวนหลังคาเรือน 24หลังคาเรือน , จำนวนภาชนะที่สำรวจ 89 ภาชนะ
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561
อบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ในชุมชน หมู่ที่3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยวิทยากรบรรยายในห้วข้อเรื่อง ไข้เลือดออกภัยร้ายไกล้ตัวคุณและหัวข้อเรื่องไข้ซิก้าภัยร้ายจากยุงลาย กิจกรรมระดมสมองเรื่องไข้เลือดออกในความคิดของหนู โดยแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 10 คน ,สาธิตนวัตรกรรมยาหม่องสมุนไพรไล่ยุง และทบทวนความรู้ที่ได้รับเรื่องโรคไข้เลือดออในความคิดหนู และการทำยาหม่องไล่ยุง ระยะเวลาสำรวจหลังทำโครงการ วันที่ 1 มีนาคม 2561
- จำนวนหลังคาเรือน24หลังคาเรือน , จำนวนภาชนะที่สำรวจ 89 ภาชนะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมุ๋ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ อสม.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน และลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลาย ในชุมชน กำหนดวันดำเนินการ คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561 วันอาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 และวันที่ 1 มีนาคม 2561 สำหรับผลการดำเนินโครงการสรุปได้ดังนี้ ดังนี้ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561
มีกิจกรรมการเดินรณรงค์สำรวจแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายตามครัวเรือนหมู่ที่3 บ้านในบ้านเพื่อประเมินผลค่า HI,CI และ BI - ผลจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย จำนวนหลังคาเรือนที่สำรวจ 24 หลังคาเรือน,จำนวนภาชนะที่สำรวจ 89 ภาชนะ,บ้านที่พบลูกน้ำ 32,ค่า HI 79.16 ค่า CI 35.95, ค่า BI 133.33 วันที่25กุมภาพันธ์ 2561
- ช่วงเช้า อสม.น้อย จำนวน 70 คน เดินรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออก ในหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์ในประชาชนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและอันตรายจากโรคไข้เลือดออก - การจัดอบรมให้ อสม.น้อยจำนวน 70 คน ทำแบบประเมินก่อน และหลังการอบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกภัยร้ายไกลัตัวคุณโดยใช้แบบทดสอบประเมินความรู้ก่อนหลัง จำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนนซึ่งสรุปผลการทดสอบความรู้ก่อน-หลังให้ความรู้ ดังนี้ การทดสอบความรู้ก่อนทำโครงการ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ,คะแนนสูงสุดได้ 9 คะแนน, คะแนนต่ำสุดได้ 2 คะแนน ,คะแนนค่าเฉลี่ย 6.33 คิดเป็นร้อยละ 63 การทดสอบความรู้หลังทำโครงการ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ,คะแนนสูงสุดได้10 คะแนน,คะแนนต่ำสุดได้ 7 คะแนน ค่าเฉลี่ย 8.97 คิดเป็นร้อยละ 89 ผลประเมินความรู้ก่อนอบรมให้ความรู้คิดเป็นร้อยละ 63 และผลการประเมินให้ความรู้หลังอบรมให้ความรู้ คิดเป็นร้อย 89 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังการอบรมมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้จากวิทยากรบรรยายในหัวข้อเรื่องไข้เลือดออก ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ และหัวข้อเรื่อง"ไข้เลือดออกในความคิดหนู มีการแบ่งกลุ่มๆละ 10 คน ในการระดมสมองของ อสม.น้อย และมีการสาธิตนวัตกรรมทำยาหม่องสมุนไพรไล่ยุงโดยวิทยากร หลังการอบรมมีการสรุปและทบทวนความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไข้เลือดออกในความคิดหนู และการทำยาหม่องไล่ยุง อสม.น้อยได้รับความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประชาสัมพันธ์ให้คนในครอบครัวและเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้รับความรู้และสามารถทำยาหม่องสมุนไพรได้ วันที่ 1 มีนาคม 2561
อสม.น้อยมีกิจกรรมสำรวจจำนวนหลังคาเรือนที่สำรวจ24 หลังคาเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 89 ภาชนะ จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำและภาชนะที่พบลูกน้ำ ค่า HI ค่า CI ค่า BI หลังทำโครงการผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพบว่า มีค่า HI เท่ากับ 25 ,ค่า CI เท่ากับ 6.74 และค่า BI เท่ากับ 25 สรุปได้ว่าผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายหลังทำโครงการผลที่เกิดขึ้นจริงลูกน้ำยุงลายลดลง

 

70 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ส่วนที่ 3 แบบรายงานผลการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ (สำหรับผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ลงรายละเอียดเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงาน) โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน            ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ อสม.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน และลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยมีการดำเนินโครงการในวันอาทิตย์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 73 คน สำหรับผลการดำเนินจัดโครงการสรุปได้ดังนี้ 1.1 การประเมินความรู้จากแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง อบรมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกภัยร้าย ใกล้ตัวคุณ ผู้จัดทำโครงการได้จัดทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบทดสอบประเมินความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 ข้อ คะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งผลสรุปจากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังดังนี้ การทดสอบความรู้ คะแนนเต็ม คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุด คะแนนค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ก่อน                     10         9                 2             5.2             56 หลัง                     10       10                 7             8.7             92
ผลการประเมินความรู้ก่อนอบรมให้ความรู้ คิดเป็นร้อยละ 56 และผลการประเมินความรู้หลังอบรมให้ความรู้ คิดเป็นร้อยละ 92 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังการอบรมให้ความรู้เพิ่มมากขึ้น 1.2 การประเมินผลการลดลงของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายจากการเดินรณรงค์สำรวจลูกน้ำ      ของ อสม.น้อย หลังทำโครงการ ในการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 73 คน โดยมีกิจกรรมการเดินรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จึงได้มีการประเมินผลจากค่า HI CI และ BI ซึ่งผลจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนและหลังทำโครงการดังนี้

ระยะการสำรวจ จำนวนหลังคาเรือนที่สำรวจ จำนวนภาชนะที่สำรวจ จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำ จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำ ค่า HI ค่า CI ค่า BI ก่อนทำโครงการ 24 89 19 32 79.16 35.95 133.33 หลังทำโครงการ 24 89 6 6 25 6.74 25 ผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายก่อนทำโครงการพบว่ามีค่า HI เท่ากับ 79.16 ค่า CI เท่ากับ 35.95 และค่า BI เท่ากับ 133.33 และหลังทำโครงการพบว่า มีค่า HI เท่ากับ 25 ค่า CI เท่ากับ 6.74
และค่า BI เท่ากับ 25 สรุปได้ว่าผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายหลังทำโครงการลดลง 1.3 ผลจากการทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อย  เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 70 ชุด ดังนี้ ตารางที่ 1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ความพึงพอใจ ระดับความพึงใจ

                                  มากที่สุด (5)    มาก (4)    ปานกลา ง(3) น้อย  (2)             น้อยที่สุด (1)             ค่า( x ̅ )                     แปลผล

สถานที่จัดกิจกรรม                   58                10              2                    0                      0                            4.80                      มากที่สุด ความพร้อมในการจัดกิจกรรม              49                19              2                    0                        0                            4.67                      มากที่สุด ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม                49                19              2                    0                        0                            4.67                      มากที่สุด
การบริการอาหาร และเครื่องดื่ม          47                22              1                    0                        0                            4.65                      มากที่สุด
วิทยากรอบรมให้ความรู้                   56                13              1                    0                        0                            4.78                      มากที่สุด
กิจกรรมนันทนาการ                   62                8                0                    0                        0                            4.88                      มากที่สุด
ความประทับใจที่ได้เข้าร่วมโครงการ   51                15              4                    0                        0                            4.67                      มากที่สุด ภาพรวมของกิจกรรมทั้งหมด           60                21              4                    0                        0                            4.82                      มากที่สุด
เกณฑ์การประเมินความพึงพอใจ
ค่าเฉลี่ย         แปลค่า 4.51 – 5.00 มากที่สุด 3.51 – 4.50 มาก 2.51 – 3.50 ปานกลาง 1.51 – 2.50 น้อย 1.00 – 1.50 น้อยที่สุด

สรุปผล จากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ    พ.ศ. 2561 คิดเป็น 4.61 อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด และคิดเป็น 4.50 อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด
3) รายละเอียดโครงการ ปัญหา/ อุปสรรค (ระบุ)
การประสานงานในการดำเนินกิจกรรมเกิดความล่าช้าและขาดการประสานงานร่วมกัน ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน กลุ่ม อสม.ควรมีการจัดทำ Line หรือสื่อออนไลน์เพื่อสะดวกในการประสานงานในการดำเนินการ

                                                                ( นางสาวจำลองลักษณ์ ทองส่งโสม ) ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3


ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ อสม. น้อยจำนวน 70 คน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธีและเหมาะสม
ตัวชี้วัด : อสม.น้อยมีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธีและเหมาะสมร้อยละ 80
0.00

 

2 ข้อที่2 เพื่อให้ อสม.น้อยจำนวน 70 คน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
ตัวชี้วัด : อสม.น้อยจำนวน 70 คน สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้
0.00

 

3 ข้อที่ 3เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน
ตัวชี้วัด : ชุมชมหมู่ที่ 3 ค่า HI,CI มีค่าเท่ากับ 0
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 0
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อที่ 1 เพื่อให้ อสม. น้อยจำนวน 70 คน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธีและเหมาะสม (2) ข้อที่2 เพื่อให้ อสม.น้อยจำนวน 70 คน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนได้ (3) ข้อที่ 3เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โครงการพํมนาศักยภาพ อสม.น้อย เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.น้อยเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน ประจำปีงบประมาณ 2561 จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L8009-2-006

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ชุมชนหมู่ที่ 3 บ้านในบ้าน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด