กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลควนธานี


“ โครงการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผูู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานีด้วยแนวคิดธรรมานามัย ”

ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผูู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานีด้วยแนวคิดธรรมานามัย

ที่อยู่ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 61-L1464-2-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผูู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานีด้วยแนวคิดธรรมานามัย จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลควนธานี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผูู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานีด้วยแนวคิดธรรมานามัย



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผูู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานีด้วยแนวคิดธรรมานามัย " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 61-L1464-2-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 12,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลควนธานี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ในศตวรรษนี้การสูงวัยของประชากรเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการที่อัตราการเกิดของของประเทศต่างๆได้ลดต่ำลง องค์การสหประชาชาติได้ประเมินสถานการณ์ว่าปี พ.ศ.2544-2643 จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ หมายถึงการมีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ปี ของประชากรรวมทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าประชากรผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีฐานะยากจนสำหรับประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สรุปว่าไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 โดยมีประชากรผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งประเทศ เนื่องจากการเกิดที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วมาก และอายุของคนไทยที่ยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างอายุของประชากรไทยได้เปลี่ยนผ่านจากท่ีเคยเป็นประชากรเยาว์วัยกลายเป็นประชากรสูงวัย ในปี 2566 ประชากรอายุ 60ปี ขึ้นไป ในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 14.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมด เท่ากับว่าประเทศไทยจะกลายเป็น สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาเฉพาะตำบลควนธานี มีประชากรทั้งหมด 5,227คน และบริเวณใกล้เคียงยังมีชุมชนเคหะตรังประมาณ 505 หลังคาเรือน ในจำนวนนี้เป็นประชากรผู้สูงอายุ จำนวน 563 คน คิดเป็นร้อยละ 10.77 ของประชากรทั้งหมด แบ่งเป็นผู้สูงอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 310 คน ,อายุระหว่าง70-79 ปีจำนวน 153คน , อายุระหว่าง 80-89 ปี จำนวน 90 ปี ,อายุระหว่าง 90-99 ปี จำนวน 8 คน จากข้อมูลการสำรวจความสามารถในการดำรงชีวิต พบว่า มีผู้สูงอายุป่วยโรคเบาหวาน 28 คนโรคความดันโลหิต จำนวน 75 คนโรคหัวใจหลอดเลือด 5 คนโรคหลอดเลือดสมอง 3 คน ฯลฯ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร ในฐานะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้านสุขภาพ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเสริมสร้างแข็งแกร่งในชีวิตให้กับผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุของพื้นที่ตำบลควนธานี ด้วยหลักธรรมานามัย โดยแยกกิจกรรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตให้กับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย แบ่งแออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียงศาสตร์การดูแลรักษาสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย สามารถนำมาใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุุแบบองค์รวมตามหลักของธรรมานามัย คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตการเห็นค่าในตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
  2. 2.เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของพื้นที่ตำบลควนธานี
  3. 3.เพื่อพัฒนาคู่มือและหลักสูตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย
  4. 4.เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี กับการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการวิจัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งงในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย
  2. การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอสม. ที่ผ่านการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเสริมสร้างคาวมแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ สามารถนำความรู้ที่ได้รับใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่หรือช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นต่อไปได้บูรณาการ 2.ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานี จำนวน 50 คน มีความแข็งแกร่งในชีวิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นและคุณภาพชีิวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมดีขึ้น 3.นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง ตระหนักและเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุว่าบุคคลที่ทรงคุณค่า 4.การเสริมสร้างความสัมพันธ์ิที่ดีระหว่างสถาบันการศึกษา ผู้สูงอายุ ประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่ต.ควนธานี 5.มีการบูรณาการโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีิวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี กับการจัดการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการวิจัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ุ6.เพื่อพัฒนาคู่มือและหลักสูตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย ที่หน่วยงานหรือสถาบันอื่นๆอาจนำไปประยุกต์ใช้ได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย

วันที่ 17 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และมีการบรรยายในแต่ละวัน เช่น มีการบรรยายเรื่องปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุและแนวคิดการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิต บรรยายเรื่องแนวคิดกายานามัย แนวคิดจิตตานามัย แนวคิดชีวิตานามัย แนวคิดอาหารตามธาตุเจ้าเรือน พร้อมทั้งมีการฝึกบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนและการฝึกสมอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จัดทำหลักสูตรการพัฒนาความแข่งแกร่งในชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานี ประกอบด้วยกิจกรรมกายานามัย คือการส่งเสริมการออกกำลังกาย การฝึกสมองฟื้นความจำ และการรับประทานตามธาตุเจ้าเรือนและเหมาะสมกับวัย กิจกรรมจิตตานามัย การผ่านคลายความเครียดด้วยการนวด การหัวเราะ การระลึกถึงความหลังที่ภาคภูมิใจและมีความสุข และการทำกิจกรรมร่วมกับคน ๓ วัย คือเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ กิจกรรมชีวิตานามัย คือการกิจกรรม การทำขนม การปลูกต้นไม้ และการบริหารความสมดุลในชีวิต

 

50 0

2. การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และมีการบรรยายในแต่ละวัน เช่น มีการบรรยายเรื่องปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุและแนวคิดการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิต บรรยายเรื่องแนวคิดกายานามัย แนวคิดจิตตานามัย แนวคิดชีวิตานามัย แนวคิดอาหารตามธาตุเจ้าเรือน พร้อมทั้งมีการฝึกบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนและการฝึกสมอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้จัดทำหลักสูตรการพัฒนาความแข่งแกร่งในชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานี ประกอบด้วยกิจกรรมกายานามัย คือการส่งเสริมการออกกำลังกาย การฝึกสมองฟื้นความจำ และการรับประทานตามธาตุเจ้าเรือนและเหมาะสมกับวัย กิจกรรมจิตตานามัย การผ่านคลายความเครียดด้วยการนวด การหัวเราะ การระลึกถึงความหลังที่ภาคภูมิใจและมีความสุข และการทำกิจกรรมร่วมกับคน ๓ วัย คือเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ กิจกรรมชีวิตานามัย คือการกิจกรรม การทำขนม การปลูกต้นไม้ และการบริหารความสมดุลในชีวิต

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1ได้จัดทำหลักสูตรการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานี ประกอบด้วยกิจกรรมกายานามัย คือ การส่งเสริมการออกกำลังกาย การฝึกสมองฟื้นความจำ และการรับประทานตามธาตุเจ้าเรือนและเหมาะสมกับวัย กิจกรรมจิตตานามัย การผ่อนคลายความเครียดด้วยการนวดฯ และการทำกิจกรรมร่วมกับคน 3 วัย คือเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ กิจกรรมชีวิตานามัย คือ กิจกรรมการทำขนม การปลูกต้นไม้ และการบริหารความสมดุลในชีวิต 1.2 หลักสูตรได้นำไปใช้กับผู้สูงอายุโดยแบ่งการทำกิจกรรมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มติดบ้าน โดยการเยี่ยมบ้าน จำนวน 20 คน และผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน 30 คน ประชาชนและเด็ก 30 คน จากการประเมินผลกลุ่มผู้สูงอายุ ด้วยแนวคิดธรรมานามัยพบว่า ความแข็งแกร่งในชีวิตอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.75 สุขภาพกายอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.24 ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย คะแนนเฉลี่ย16.47 ความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับดี 8.07 การเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 17.67 ผู้สูงอายุมีความสุขอยู่ในระดับเท่ากับคนทั่วไป คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 28.83 1.3 ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานี ด้วยแนวคิดธรรมานามัย พบว่า
- ความพึงพอใจต่อกระบวนการ/ขั้นตอนการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก - ความพึงพอใจการให้บริการของนักศึกษา อาจารย์ อยู่ในระดับมาก - ความพึงพอใจต่อสิ่งอำนวยความสะดวก อยุู่ในระดับมาก - ความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก - ความพึงพอใจกิจกรรมสอดคล้องกับความต้องการ อยู่ในระดับมาก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตการเห็นค่าในตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานีที่เข้าร่วมโครงการมีความแข็งแกร่งในชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น 2.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานีที่เข้าร่วมโครงการมีการเห็นคุณค่าในตนเองที่เพิ่มสูงขึ้น 3.ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานีที่เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตท่เพิ่มสูงขึ้น
0.00

 

2 2.เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของพื้นที่ตำบลควนธานี
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพืนที่ตำบลควนธานีที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมมนามัยเพิ่มสูงขึ้น
0.00

 

3 3.เพื่อพัฒนาคู่มือและหลักสูตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย
ตัวชี้วัด : 1.หลักสูตรการเสริมสร้างความแข็แกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย จำนวน 1 หลักสูตร 2.คู่มือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย จำนวน 1 เล่ม
0.00

 

4 4.เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี กับการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการวิจัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
ตัวชี้วัด : 1.จำนวนรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อย่างน้อย 2 รายวิชา มีการบุูรณาการกับโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพ้ืนที่ควนธานี 2.โครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี มีการบูรณาการกับการวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง 3.โครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี มีการบูรณาการกับกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร อย่างน้อย 1กิจกรรม
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 0 30
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตการเห็นค่าในตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุของพื้นที่ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง (2) 2.เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของพื้นที่ตำบลควนธานี (3) 3.เพื่อพัฒนาคู่มือและหลักสูตรการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย (4) 4.เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ควนธานี กับการเรียนการสอน การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และการวิจัยของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งงในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย (2) การจัดการอบรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตสำหรับผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตผูู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลควนธานีด้วยแนวคิดธรรมานามัย จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 61-L1464-2-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด