กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู


“ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ. ”

ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายบุญญา สองเมือง

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ.

ที่อยู่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 62-L5313-2-01 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ. จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ.



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ. " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 62-L5313-2-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2562 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 149,400.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา และเป็นเป้าหมายสูงสุดที่ทุกคนต้องการ การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงบริการสุขภาพเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของการมีสุขภาพดีไว้ว่า สุขภาพดีคือการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสวัสดิภาพทางสังคม อยู่ในสภาพดี ไม่ได้หมายความเพียงว่า ไม่มีการเจ็บป่วยหรือไม่มีทุกข์กังวลกับการเจ็บป่วยเท่านั้น แต่เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากบริบทการทำงาน เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป มีการแข่งขันทั้งทางด้านข่าวสารสารสนเทศและเทคโนโลยี ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมต้องเร่งรีบและแข่งขันตามกลไกเศรษฐกิจ แต่ในความเจริญนั้นก่อให้เกิดปัญหาต่างๆเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรม สุขภาพทั้งร่างกายจิตใจ ปัญหาหมอเถื่อน แต่ระบบเศรษฐกิจนั้นยังคงดำเนินไปเรื่อยๆ โดยที่ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ยั่งยืนและพัฒนาขึ้น เพราะร่างกายมนุษย์เสื่อมลงตามกาลเวลา ประกอบกับมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น แต่เวลาในการดูแลสุขภาพของตนเองกลับน้อยลง เกิดปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนหันไปพึ่งพาสินค้าที่จะทำให้สุขภาพดีจากสื่อต่างๆ เช่นยาลดความอ้วน น้ำสมุนไพรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นและมีราคาแพง และจากสถานการณ์โรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า โรคที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อซึ่งได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจหลอดเลือด และโรคมะเร็ง เป็นต้น โรคต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไปของบุคคล เช่นขาดการออกกำลังกาย ขาดการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการที่เหมาะสมและปลอดสารพิษ ขาดการพักผ่อน เป็นต้น ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข รายงานอัตราตายของประชากรไทยในปี 2558 จำแนกตามสาเหตุการตายของที่สำคัญต่อประชากร 100,000 คน ดังนี้ 1.มะเร็งทุกชนิด 112.8 คน ต่อประชากร 100,000 คน 2.โรคหลอดเลือดในสมอง 43.3 คน ต่อประชากร 100,000 คน 3.ปอดอักเสบ 42.1 คน ต่อประชากร 100,000 คน 4.โรคหัวใจขาดเลือด 29.9 คน ต่อประชากร 100,000 คน 5.อุบัติเหตุจากการคมนาคมขนส่งทางบก 22.3 คน ต่อประชากร 100,000 คน 6.เบาหวาน 19.4 คน ต่อประชากร 100,000
จากสถานการณ์ที่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจึงควรที่จะส่งเสริมมาตรการในการดูแลสุขภาพที่ตัวบุคคล และสังคมในภาพรวมเป็นสำคัญให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดีไว้ให้นานที่สุด ดังนั้นการออกกำลังกายที่เหมาะสมสม่ำเสมอ และการหลักการ 6 อ. ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองในระยะยาวซึ่งประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา จึงเป็นวิธีการที่ง่าย และสะดวกที่สุดในการปรับใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรก และบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้าง และพัฒนาความเข้มแข็งของประชนที่จะร่วมใจแก้ปัญหาสุขภาพของตนเอง และชุมชนโดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3วัน วันละ 30 นาที ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิคเป็นต้น การเดินวิ่ง เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอีกทั้งยังเป็นการประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจุดประกายและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน ประชาชนหรือผู้ที่พบเห็นทั่วไปได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายซึ่งสอดคล้องกับ สํานักส่งเสริมสุขภาพ กรมสุขภาพ ( 2543 : 14-19 ) ได้กล่าวว่า บทบาทของการเคลื่อนไหวของการออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอทําให้เเกิดความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกายในด้านการป้องกันโรคคือ ช่วยลดความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อโรคเรื้อรังที่สําคัญ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ความอ้วน เป็นต้น อันเป็นผลมาจากขาดหรือเคลื่อนไหวออกกําลังกายน้อย
ดังนั้นชมรมเดินวิงเพื่อสุขภาพตำบลละงู จึงเล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และหลักการ 6 อ.ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า จะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีภาวะสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนปลอดภัยจากโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในตำบลละงูกันเองโดยไม่หวังพึ่งพิงแต่ภาครัฐอย่างเดียว ชมรมเดินวิ่งเพื่อสุขภาพตำบลละงู จึงได้จัดทำกิจกรรมโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ. ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลละงูขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งที่เหมาะสมกับโรค เหมาะสมกับวัย และหลักการ 6 อ.
  2. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลละงูเกิดความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพตนเอง และให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง
  3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในตำบลละงูการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการ อบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ.
  2. 2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเปลี่ยนชีวิต

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งที่เหมาะสมกับตนเอง เหมาะสมกับโรค เหมาะสมกับวัย และหลักการ 6 อ.
  2. ประชาชนในตำบลละงูเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง และให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
  3. ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ประชาชนมีการรวมตัวกันทำกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของประชาชนในตำบลละงู

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการ อบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ.

วันที่ 13 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะทำงาน 2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินกิจกรรมตามที่วางแผน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวประประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง 2.ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ 3.ชุมชนหรือสังคมมีส่วนร่วมและตระหนักในกิจกรรมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี

 

0 0

2. 2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเปลี่ยนชีวิต

วันที่ 27 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมชี้แจงคณะทำงาน 2.ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินกิจกรรม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และฝึกปฏิบัติเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง รวม 8 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ 2.สามารถนำไปประยุกต์ใช้ 3.ชุมชนสังคมมีส่วนร่วม

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ชมรมเดินวิ่งสร้างเสริมสุขภาพตำบลละงู ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดกิจกรรม โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้เรื่อง 6 อ.โดยมีกิจกรรมหลักจำนวน 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งและอบรมให้ความรู้เรื่อง 6 อ. และกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งที่เหมาะสมกับโรค เหมาะสมกับวัย และหลักการ 6 อ.
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการมีความความเข้าใจเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งที่เหมาะสมกับโรค เหมาะสมกับวัย และหลักการ 6 อ.
0.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลละงูเกิดความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพตนเอง และให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 30 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
0.00

 

3 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในตำบลละงูการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่งที่เหมาะสมกับโรค  เหมาะสมกับวัย และหลักการ 6 อ. (2) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในตำบลละงูเกิดความตระหนัก ในการดูแลสุขภาพตนเอง และให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง (3) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในตำบลละงูการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการ อบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ. (2) 2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเปลี่ยนชีวิต

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดินวิ่ง และการอบรมให้ความรู้ในเรื่อง 6 อ. จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 62-L5313-2-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายบุญญา สองเมือง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด