โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ |
วันที่อนุมัติ | 29 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 29 มิถุนายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.803,99.917place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีสภาพร่างกายที่เสื่อมและถดถอยลงเป็นไปตามกาลเวลา เป็นผลให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆสามารถเข้ามาเบียดเบียนได้ง่าย หากผู้สูงอายุมีปัญหาต่างๆไม่ว่าปัญหาทางครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ ด้วยแล้ว ก็มักจะทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ผลที่ตามมานั้นอาจจะเป็นปัญหาทางชุมชนและสังคมต่อไปด้วย เป็นที่ประจักษ์ว่าผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการดูแลสุขภาพของตนเอง เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน และมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลม เรอบ่อย ท้องผูก หลงลืมบ่อย และปัญหาทางอารมณ์ เป็นต้น จากสถานการณ์ดังกล่าว อันเป็นผลมาจากการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเจ็บป่วยมากและเร็วขึ้น สำหรับผู้สูงอายุในตำบลท่าเรือมีจำนวน 434 คน ผลการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน (ADL) เป็นผู้สูงอายุที่ติดสังคม ร้อยละ ๙๕.๖๕ ติดบ้าน ร้อยละ ๓.๑๐ และติดเตียงร้อยละ ๑.๒๔ (ข้อมูล:งาน อผส. กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ)
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ โดยเพิ่มแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบ “สังคมเพื่อคนทุกวัย ผู้สูงอายุยุคใหม่ ห่วงใยใส่ใจสุขภาพ” มุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ ไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาต่างๆเหล่านี้ จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ” โดยจะจัดการอบรมผู้สูงอายุขึ้น เพื่อหวังที่จะให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างดีและเหมาะสม ตลอดจนญาติ ผู้ดูแล และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) สามารถดูแลผู้สูงอายุในเขตที่ตนเองรับผิดชอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกาย |
70.00 | |
2 | เพื่อเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพและการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพและการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมผู้สูงอายุและครอบครัว |
70.00 | |
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน ได้มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ |
70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 250 | 24,200.00 | 5 | 24,200.00 | 0.00 | |
29 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 12,000.00 | ✔ | 12,000.00 | 0.00 | |
29 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 3,050.00 | ✔ | 3,050.00 | 0.00 | |
29 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 3,050.00 | ✔ | 3,050.00 | 0.00 | |
29 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 3,050.00 | ✔ | 3,050.00 | 0.00 | |
29 มิ.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 | อบรมให้ความรู้ | 50 | 3,050.00 | ✔ | 3,050.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 250 | 24,200.00 | 5 | 24,200.00 | 0.00 |
1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
2.เสนอโครงการต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าเรือ
3.ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลท่าเรือเพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ
4.ประสานผู้สูงอายุ ญาติ/ผู้ดูแล และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) เข้าร่วมกิจกรรม
5. ดำเนินการตามโครงการ แบ่งออกเป็น 5 สัปดาห์ (ทุกวันพุธ เวลา 13.00 – 16.00 น.) คือ
-วันพุธ สัปดาห์ ที่ 1
- แนวทางการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในผู้สูงอายุ
- การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. 2 ส. 1 ฟ. (อ.อาหาร อ.ออกกำลังกาย อ.อารมณ์ดี ส.ไม่สูบบุหรี่ ส.ไม่ใช้ยาเสพติด/ไม่ดื่มสุรา การดูแลสุขภาพฟัน )
- กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยผ้าถุง
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการอบรม
-วันพุธ สัปดาห์ ที่ 2
-การดูแลผู้สูงอายุทั้งทางร่างกายและจิตใจในผู้สูงอายุ
-การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง)
-กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย “ธรรมชาติบำบัด แกว่งแขน ลดหลายโรค”
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการอบรม
-วันพุธ สัปดาห์ที่ 3
-สูงวัยกินอย่างไรให้สมดุล
-การส่งเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุตามแนวคิด 4 Smart (ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย)
-กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย“การออกกำลังกายป้องกันโรคหัวใจ”
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการอบรม
-วันพุธ สัปดาห์ที่ 4
-โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
-ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว (ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เข่าเสื่อม)
-กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยยางยืดแก้ปวดเข่า
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการอบรม
-วันพุธ สัปดาห์ที่ 5
- 10 พืชสมุนไพรประจำบ้าน อาหารเป็นยาคู่ครัว
- สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
- กิจกรรมฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายตามจังหวะเพลง
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการอบรม
6. ประเมินผลการจัดกิจกรรมและรายงานผลการจัดกิจกรรม
- ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
- ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมระหว่างวัยและจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายในครอบครัว และสังคม
- ผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญในด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 10:36 น.