การทำโครงการแก้ปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติผ่านกองทุน
ความเข้าใจ การใช้เงินเพื่อแก้ปัญหาโรคระบาด หรือภัยพิบัติ โดยเงินกองทุนฯ (Conceptual Framwork)
1.ไม่ต้องมีการประกาศฯให้เป็นพื้นที่ภัยพิบัติ หรือระบาด เพราะเงินกองทุน เป็นเพียงเงินเพื่อบรรเทาเบื้องต้น
2.กรณี 10 (5) นั้นปกติ ในตอนอนุมัติแผนการเงินจ่าย ประจำปี จะกำหนดวงเงินของประเภท 5ไว้ 5-10% เบื้องต้น หรือจะมากกว่าได้
3.จะมีการระบุรายชื่อโครงการแก้ปัญหา ควรแยกตามประเภทภัยพิบัติ หรือโรคระบาดฯ (ไม่ทำแบบรวมๆเหมาๆ) แล้วกำหนดหน่วยงานทำ/รับเงินทำโครงการ
เช่น โครงการแก้ปัญหาไข้เลือดออก /มาลาเรีย ระบาด หน่วยงานที่ดำเนินงาน:ระบุหน่วยงาน และวงเงิน .....บาท
โครงการแก้ปัญหาโรคจากน้ำท่วม /โครงการแก้ปัญหาโรค ...... (ระบุ)
4.วิธีการอนุมัติโครงการประเภท 10(5) ให้รวดเร็วและถูกต้อง สามารถดำเนินการ ดังนี้
โอนเงินก่อนเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ
4.1 เอาเงินออกจากกองทุนฯ ต้นปี โดยคณะกรรมการจะต้อง กำหนดรายชื่อโครงการ ประเภท (5) ว่ามีโครงการ/หน่วยงาน/วงเงิน >>>ให้หน่วยงานรีบเขียนโครงการมาให้คณะกรรมการพิจารณา >>>อนุมัติ >>>โอนเงินเลย
โอนเงิน หลังหรือเมื่อเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ
4.2 เอาเงินออกภายหลัง >>>ให้เขียนในมติที่ประชุมว่า "ให้อำนาจประธานคณะกรรมการ" อนุมัติโครงการและเบิกจ่ายเลย ตามโครงการที่เขียนมาข้างต้น
4.3 กรณีโรคระบาด>>> ให้ประยุกต์ใช้ อำนาจประธานกองทุนฯตามข้อ 10/1 "อนุมัติโครงการเกี่ยวกับโรคระบาดไม่เกิน100,000 บาท/โครงการ กี่โครงการก็ได้"
Relate topics
- QR-code กองทุนแต่ละจังหวัด
- จัดซื้อคอมพิวเตอร์ประจำกองทุน ใช้งบบริหารทำอย่างไร
- ขั้นตอนการแต่งตั้งประธานกองทุน หลังเลือกตั้งนายกและตัวแทนสภา ทำอย่างไร?
- ตอบข้อหารือ อบต.จะทิ้งพระ เรื่องคุณสมบัติของกรรมการสัดส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ
- ตอบข้อหารือ ทน.ตรัง โครงการพัฒนา อสม.หมอประจำบ้าน และพัฒนาการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
- ตอบข้อหารือ ทม.ปาดังเบซาร์ กรณีทำโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
- ตอบข้อหารือ ทต.แพรกหา กรณีตวิธีการตั้งโครงการบริหาร กรณี ไม่ได้รับจัดสรรและต้องการสมทบได้หรือไม่ ?
- ใช้เงินบริหารกองทุน 10(4) จ้าง อส.บริบาลได้หรือไม่
- การใช้เงินกองทุนตำบล แก้ปัญหาโควิด 19
- กรรมการมาประชุมแทนแบบไหนสามารถเบิกค่าตอบแทนประชุม กรณีใด...?