กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

เวทีสาธารณะถอดบทเรียนพี่เลี้ยงต่อการทำงาน ทต.ชะรัด

by twoseadj @19 ก.ค. 67 08:52 ( IP : 113...52 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1000x667 pixel , 121,944 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 105,075 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 120,605 bytes.
  • photo  , 1000x1000 pixel , 104,210 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 132,290 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 111,581 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 95,875 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 126,097 bytes.
  • photo  , 1000x1500 pixel , 157,800 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 130,582 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 125,803 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 105,075 bytes.
  • photo  , 1000x1500 pixel , 157,800 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 130,582 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 126,097 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 125,505 bytes.
  • photo  , 1000x748 pixel , 125,803 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 88,052 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 152,071 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 116,090 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 113,397 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 120,066 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 118,535 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 117,108 bytes.

ถอดบทเรียน ทต.ชะรัด จ.พัทลุง ขับเคลื่อนกองทุน กปท. ใช้กลไกพี่เลี้ยงกองทุน ข้อมูลสุขภาพของพื้นที่แก้ไขปัญหา กำหนดธรรมนูญชุมชน เพื่อดูแลสุขภาวะของคนในพื้นที่
. . วันนี้ (18 ก.ค. 67)  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส่วนกลาง ร่วมกับ สปสช. เขต 12 สงขลา ลงพื้นที่ เทศบาลตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง จัดเวทีสาธารณะ : กลไกพี่เลี้ยงต่อการเพิ่มประสิทธิภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ กรณี เทศบาลตำบลชะรัด จังหวัดพัทลุง ณ หอประชุมเทศบาลตำบลชะรัด จังหวัดพัทลุง โดยมีผู้ร่วมการพูดคุย ดังนี้
1.คุณสุวรรณลี ยาชะรัด นายกเทศมนตรีตำบลชะรัด และ ประธานกองทุน ฯ 2.คุณสุเชษฐ์ คงดำ ปลัดเทศบาลตำบลชะรัด เลขานุการกองทุน ฯ 3.นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ สปสช.
4.คุณสุภาพร คงพันธ์ พี่เลี้ยงระดับตำบล 5.คุณประเทือง อมรวิริยะชัย พี่เลี้ยงระดับจังหวัด 6.คุณสมนึก นุ่นด้วง พี่เลี้ยงระดับจังหวัด 7.คุณนัฐพล  หมุนนุ้ย  ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 8.คุณกรณ์  รัตนนท์  เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
ดำเนินรายการ โดย คุณกิตติศักดิ์ เมืองหนู และปิยะสุวรรณ ตุ้งแก้ว (สปสช. เขต 12 สงขลา) . ในเวทีสาธารณะครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การขับเคลื่อนกองทุน กปท. ของ ทต.ชะรัด ที่ใช้กลไกพี่เลี้ยงกองทุนฯ เป็นฟันเฟืองสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันมีแกนนำพี่เลี้ยงมากกว่า 14 กองทุน รวมทั้งเป็นกลไกที่ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ทต.ชะรัด จ.พัทลุง โดยมี นายกเทศมนตรี ทต.ชะรัด เป็นผู้ขับเคลื่อน
. คุณสุวรรณลี ยาชะรัด นายกเทศมนตรีฯ ได้ให้ข้อมูลว่า การจัดการกองทุน มีการใช้ข้อมูลของพื้นที่ (Area Base) ทำให้สามารถเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน เมื่อรู้ปัญหาแล้วก็มีการจัดทำกิจกรรม/โครงการ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยคำนึงถึง ด้านสุขภาวะของคนในพื้นที่เป็นหลัก และใช้ธรรมนูญชุมชนเป็นข้อตกลงในการจัดการระดับตำบล ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณกองทุนอย่างยั่งยืน

สำหรับ การใช้กลไกพี่เลี้ยงกองทุน นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะทีมพี่เลี้ยงเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการทำโครงการ วิเคราะห์ปัญหา และขับเคลื่อนกองทุน ดังนั้น กลไกพี่เลี้ยง จึงมีความสำคัญใน ทต.ชะรัด เป็นอย่างมาก โดยสามารถพัฒนาเป็นรุ่น ๆ เพื่อส่งไม้ต่อในด้านการจัดการ ด้านองค์ความรู้ จึงอยากให้ สปสช. มีนโยบายในการสร้างหลักสูตรทีมพี่เลี้ยงอย่างเป็นระบบในอนาคต . คุณสุเชษฐ์ คงดำ ปลัด ทต.ชะรัด เสนอว่า กลไกพี่เลี้ยง เป็นเรื่องสำคัญของการดำเนินงานกองทุน แต่ปัญหาสำคัญคือ เรื่องงบประมาณที่จัดสรรมา ยังมีข้อจำกัด จึงอยากให้มีการปรุงแก้ไข เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานกองทุน ชุมชน และท้องถิ่น

ในการบริหารจัดการด้านงบประมาณ อยากให้มีการจัดสรรงบประมาณไปที่จังหวัด เป็นเงินกลาง หากกองทุนไหนขาดงบประมาณก็จะสามารถไปขอจากจังหวัดได้ . ด้าน คุณสมนึก เป็นพี่เลี้ยงในระดับจังหวัด  เล่าถึงประสบการณ์และเกณฑ์การคัดเลือกพี่เลี้ยงกองทุนฯ สิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จักเขาเป็นอย่างดี และพิจารณาว่าเขามีศักยภาพที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นพี่เลี้ยง ในการให้ความรู้ ความเข้าใจกับผู้ที่จะมาขอรับงบประมาณกองทุนฯ ที่สำคัญ จะต้องมีการเสริมพลัง เติมองค์ความรู้ ให้กับพวกเขา เพื่อให้พวกเขาพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

ในอนาคตอยากเห็นการมีทีมพี่เลี้ยงกองทุน ในทุกจังหวัด ทุกกองทุน เพราะพี่เลี้ยงเป็นกลไกที่สำคัญของการดำเนินงานของกองทุน
. คุณสุภาภรณ์ พี่เลี้ยงในระดับตำบล ได้แบ่งบันว่า ปัจจุบันทาง ทต.ชะรัด ใช้เว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org/ ของ สปสช. เขต 12 สงขลา ในการจัดการกองทุน โดยให้ผู้ที่จะขอรับงบประมาณสามารถเข้ามาเขียนโครงการ และดูข้อมูลของพื้นที่ตนเองว่ามีปัญหาอะไร เพื่อจะสามารถเขียนโครงการได้ตรงกับปัญหาของชุมชน ทำให้เกิดความสะดวก กับการบริหารจัดการ และเป็นนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกให้กับทั้งผู้ของบประมาณ และ ทต.ชะรัด ในการกำกับติดตามข้อมูลโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ บทบาทพี่เลี้ยง ทต.ชะรัด ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสาน และลดความเป็นวิชาการลง เพื่อทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานระหว่างภาครัฐกับภาคประชาขน ซึ่งบทบาทการทำงานของพี่เลี้ยงที่ผ่านมา ทำให้ ทต.ชะรัด ได้รับรางวัลด้านการบริหารจัดการกองทุนดีเด่น

ในอนาคตอยากเห็นการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มมากขึ้นในด้านการดำเนินงานกองทุน โดยเฉพาะกลไกพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นกุญแจหลักของพื้นที่ เพราะ หากมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น แต่ก็ยังมีทีมพี่เลี้ยงที่ขับเคลื่อนงานอยู่ จะทำให้กองทุนฯ ไม่สะดุดหรือหยุดชะงักไป . นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา ผู้ทรงคุณวุฒิ สปสช. ได้ร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีสาธารณะ โดยให้ข้อมูลว่า การจัดเวทีในลักษณะนี้เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการให้พื้นที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยน ความรู้ และพัฒนางาน อีกทั้งยังเป็นการรับฟังความคิดเห็นฯ ต่อการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น

การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพของพื้นที่ในอนาคตจะต้องให้ท้องถิ่นและชุมขนเป็นเจ้าของ และจัดการตนเองได้ โดยส่วนกลางจะต้องเข้าใจบริบทขอวพื้นที่ และไม่ตัดเสื้อโหลให้กับท้องถิ่น นั้นจะทำให้เกิดความยั่งยืนของระบบฯ ทั้งนี้ งบกองทุน ฯ ที่ได้รับ 45 บาท/ประชากร ในอนาคตก็จะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มเติม หากพื้นที่ ชุมชน ท้องถิ่น สะท้อนว่าชัดเจนว่า เงิน 45 บาท อาจจะไม่เพียงพอ โดยต้องมี Evidenbase ว่าไม่เพียงพอจริงหรือไม่? หากเป็นจริง ก็คงต้องมีการนำเสนอในระดับนโยบาย เพื่อเพิ่มเติมต่อไป เหมือนกับ งบ LTC ที่ดูผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง จากเดิม 6,000 บาท เป็น 10,442 บาท ซึ่งตรงนี้เกิดจากข้อเสนอเชิงนโยบายของพื้นที่ ชุมชน และท้องถิ่น

ปัจจุบัน สปสช. มีการแต่งตั้ง อนุกรรมการหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อนุกรรมการ ม.47 ซึ่งจะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น ในด้านวิชาการการ และด้านกฎหมาย โดยอนุกรรมการจะมาจากผู้แทนของท้องถิ่น และด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้หลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่เกิดความต่อเนื่อง และพัฒนาต่อไป . ในเวทีสาธารณะครั้งนี้ยังมี ภาคประชาชน ที่ของบประมาณจากกองทุน ทต.ชะรัด มาร่วมแลกเปลี่ยน และเล่าถึงการดำเนินงาน/กิจกรรม ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุ โครงการด้านความปลอดภัยทางถนน เป็นต้น
. . ที่มา : ฝ่ายสนับสนุนการจัดหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น / สปสช. เขต 12 สงขลา