กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

อำนาจและแนวทางการคัดเลือกแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนชุดใหม่ ทำอย่างไร

ตามที่มีประกาศฯ ฉ.ใหม่ ออกมาใช้สำหรับบริหารกองทุนฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 61 คณะกรรมการชุดเก่า มีอำนาจอย่างไร และต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขุดใหม่อย่างไร ?

ตอบ

  1. คณะกรรมการกองทุนสุขภาพ ตามประกาศ ฉ.ใหม่ เป็นอำนาจของ อปท.แต่งตั้งเอง มิใช่อำนาจของ สปสช.ดั่งเช่นประกาศ ฯ ปี 57
  2. คณะกรรมการฯชุดเก่า หมดวาระ เนื่องจากประกาศ ฉ. 61 บังคับใช้ โดยมีอายุดำเนินงานต่อไปอีก 90 วัน(อำนาจเต็ม คือพิจารณา แผน โครงการ) ดังนั้น อปท.ต้องดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
  3. การคัดเลือกองค์ประกอบของคณะกรรมการนั้น เป็นหน้าที่ อปท. สามารถใช้งบบริหาร 10(4) ในการคัดเลือก็ได้ แต่ขอให้มีพอ

องค์ประกอบคณะกรรมการ มีอะไรบ้าง

ที่ปรึกษา มี 3 คน คือ

  1. หัวหน้าหน่วยบริการประจำในพื้นที่ หมายถึง ผอ.โรงพยาบาลอำเภอ>>>...อย่างง มาก...
  2. สาธารณสุขอำเภอ และ
  3. ท้องถิ่นอำเภอ

 >>> อยากเรียนให้ทราบว่า ไม่ใช่กรรมการ เป็นที่ปรึกษา ถามว่าต้องเข้าทุกครั้ง มั้ย ?.... ไม่ต้อง...เชิญเท่าที่จำเป็น...เช่นมาให้ความเห็นเรื่องแผน เวลาแต่งตั้งจะเป็นชื่อตำแหน่ง ดังนั้น ส่งตัวแทนประชุมได้นะครับ

กรรมการ>>> อ่านประกาศข้อ 12

  1. ประธานกองทุน = นายกอบต. หรือ นายกเทศมนตรี แต่งตั้งใช้ชื่อตำแหน่งนะครับ ในเว็บไซต์...ให้กรอกชื่อ-สกุล หน่วยงานต้นสังกัดใส่ชื่อ ตำบล....
  2. ผู้แทนสมาชิก อปท. จำนวน 2 คน ให้กองทุนฯประสานไปยัง สภานำวาระให้คัดเลือก สมาชิกสภา 2 คน เป็นตัวแทนในฐานะกรรมการ และส่งสรุปรายงานการประชุมมาด้วย
  3. หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภมิที่จัดบริการในพื้นที่ ไม่เกิน 2 คน หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิ คือ หน่วยงานใด>>> ผอ.รพ.สต. หัวหน้าศูนย์บริการสาธารณสุข (เทศบาลมีการจัดตั้ง) และหัวหน้าศูนย์บริการสุขภาพชุมชน คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัว หรือ คลินิกหมอครอบครัว เป็นต้น อย่าสับสนกับ นิยามตามประกาศข้อ 4 หน่วยบริการ คือ สถานบริการที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. อันนี้ใช้กรณีประเภทหน่วยงานรับทุนประเภท10(1) เท่านั้น นะจ๊ะ
  4. ผู้แทน อสม. ไม่เกิน 2 คน >>> กองทุนฯ แจ้งให้ ประธาน อสม.คัดเลือกมา 2 คน และส่งสรุปรายงานประชุม
  5. ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน จำนวนไม่เกิน 5 คน >>> ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชน ไม่ใช่ ผู้ใหญ่บ้าน นะครับ ใครก็ได้ที่คัดเลือกเป็นตัวแทนโดยเปิดเผย(แต่ถ้าผู้ใหญ่บ้านได้รับการเลือกย่อมถูกเป็นตัวแทนหมู่บ้านได้) ให้ส่งรายงานการประชุมคัดเลือกมาด้วย หากมีตัวแทนมากกว่า 5 คน ให้กองทุนฯจัดคัดเลือกกันเองของตัวแทนให้เหลือไม่เกิน 5 คน
  6. ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ หรือ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ทางศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด จะส่งรายชื่อตัวแทนมาที่ สปสช. ซึ่ง สปสช.จะแจ้งมาที่กองทุน เพื่อบรรจุผู้แทนดังกล่าวเป็นกรรมการ ในคำสั่งต่อไป และหากยังไม่ส่งมา กองทุนสามารถบรรจุเพิ่มเติมภายหลังโดยออกคำสั่งเพิ่มเติมกรรมการจากระบบเว็บไซต์
  7. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล/ปลัดเทศบาล ประกาศ ฉ. 61  มุ่งให้ ปลัด อปท.ได้รับรู้การดำเนินงานกองทุนฯ ดังนั้นในการแต่งตั้งให้แต่งตั้งปลัดเป็นโดยตำแหน่ง แต่หากปลัดต้องการมอบหมายให้รองปลัด อบต./หรือ เทศบาล ปฎิบัติงานกรรมการและเลขานุการกองทุน ได้ภายหลัง
  8. ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หรือหัวหน้าส่วนชื่ออื่นหรือผู้แทน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการกองทุน แต่งตั้งจะเป็นชื่อตำแหน่งนะคับ... ใครมาแทนหรือย้าย ไม่ต้องแต่งตั้งใหม่ หากให้เจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย เวลาแต่งตั้งจะเป็นชื่อ-สกุล อันนี้ไม่สามารถส่งใครมาแทนได้
  9. ผู้อำนวยการกองคลัง หรือหัวหน้าส่วนงานคลัง กรณีแต่งตั้งเป็นตำแหน่งเวลาย้ายไป ใครมารักษาการหรือมาทำงานในตำแหน่งนี้ ก็ทำหน้าที่ ผอ.กองคลังได้เลย ไม่ต้องมีคำสั่งใหม่ ส่วนกรณี ผอ.ไม่อยากเป็น ต้องมอบเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับงานคลังเท่านั้น ....จากงานอื่นไม่ได้ ทำไมต้องแต่งตั้งงานคลัง หรือการเงินมาทำหน้าที่กรรมการในชุดใหม่นี้ ถามว่าทำใม?...ประกาศ ฉ.นี้มุ่งแก้ปัญหาเวลาเบิกเงินทำใบฎีกา การทำบัญชี รับ-จ่ายเงิน ของกองทุนฯให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  10. ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่...>>> ต้องเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ สามารถให้คำแนะนำหรือชี้แนะได้ ที่สำคัญคือ จะต้องเป็นผู้ที่มีทะเบียนบ้าน หรือ อาศัยในพื้นที่เท่านั้น ในประกาศ ฉ.ใหม่นี้ ผู้ทรงจะมีสถานะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ ฉ.เก่า เป็นรองประธานคนที่ 1 และ 2 ตามลำดับ แต่ฉ.ใหม่ เป็นกรรมการ การแต่งตั้งผู้ทรงฯนี้ จะใช้การคัดเลือกของกรรมการทุกๆส่วนตั้งแต่ 1-9 การแต่งตั้งจะใช้ชื่อบุคคล เวลาไม่สามารถประชุมได้จะส่งใครมาแทนมิได้

อายุคณะกรรมการ 4 ปี นับจากวันออกคำสั่ง มาให้นายกลงนามแล้ว

Relate topics