กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

การสนับสนุนเงินกองทุนฯดำเนินโครงการแก่ผู้รับทุน มีหลักเกณฑ์อย่างไร

by twoseadj @7 ธ.ค. 61 21:07 ( IP : 171...169 ) | Tags : ถาม-ตอบ Q&A

ตอบ
การสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุน จะต้องเป็นไปตามประกาศ ข้อ 10 กล่าว คือ
1. ต้องมีหน่วยงาน/กลุ่ม/องค์กร รับทุน
2. เขียนโครงการมาขอรับทุน
3. ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนฯ...>>>

ย้ำอีกครั้ง...กรรมการใหญ่ที่สุด ต้องมีมติด้วยเสียงข้างมากในการอนุมัติโครงการ ห้ามปลัดหรือ จนท.ใช้อำนาจวินิฉัยว่า อนุมัติ หรือปรับ เลขากองทุนมีหน้าที่นำเอกสารโครงการเข้าพิจารณาของคณะกรรมการเท่านั้น

การพิจารณาโครงการของคณะกรรมการต้องดำเนินการและมีหลักเกณฑ์อย่างไร
1.การประชุมต้องชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการฯ ถือเป็นคณะกรรมการทางปกครอง การออกเสียงหรือดำเนินการใดๆต้องเป็นการกระทำที่ชอบเท่านั้น องค์ประชุมจะต้องมีเกินกึ่งหนึ่ง ตามประกาศ  ฉ.61 นั้นกรณีประธานกองทุนไม่มาประชุม และไม่มอบหมายรองนายกประชุมแทน ให้ที่ประชุมร่วมกันเลือกกรรมการท่านใดท่านหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นประธานกองทุนฯในการประชุมครั้งนั้น
2. คณะกรรมการต้องร่วมกันพิจารณาโครงการ และกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางดังต่อไปนี้
2.1วัตถุประสงค์โครงการ ในโครงการจะต้องเขียนวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ หรือแก้ปัญหาสุขภาพ 1-2 ข้อเท่านั้น โดยมีคำสำคัญ คือ เพื่อแก้ปัญหา...หรือเพื่อเพิ่ม...หรือเพื่อลด.......(มีหลายกรณี ที่เขียนวัตถุประสงค์มากมายหลายข้อจนไม่จำเป็น) คณะกรรมการต้องปรับวัตถุประสงค์ให้มีคำสัญเหล่านี้ และอย่ามากข้อนัก
วัตถุประสงค์ของโครงการ ที่ไม่ควรปรากฎ คือ การเพิ่มทักษะกีฬา (ให้ไปของบกีฬาและสันทนาการ ) การเขียนประเด็นการเพิ่มรายได้ หรือ การสืบสานประเพณี ศาสนา หรือ เกี่ยวกับวันสำคัญมากนัก
2.2 เงื่อนเวลา ผู้รับทุนมักจะระบุห้วงเวลาทำโครงการ ให้ระบุเท่าที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรม ไม่จำเป็นจะต้องระบุตั้งแต่ 1 ต.ค.-30 ก.ย. ที่สำคัญ อยากเรียนให้ทราบว่า มีหลายกองทุนฯชอบถามว่า...คณะกรรมการมีอำนาจอะไรไปขยายเวลาให้ผู้รับทุน...>>> อยากจะตอบว่า อาศัยอำนาจตามข้อ 10 นี่แหละ

อีกกรณี ที่ผมมักจะได้รับคำถามเสมอว่า กองทุนสุขภาพตำบล บริหารงานโครงการตามปีงบประมาณใช่หรือไม่ คำตอบคือ ใช่ แต่การบริหารโครงการที่ขอรับทุนไม่จำเป็นต้องขึ้นกับปีงบประมาณ
หากคณะกรรมการบริหารกองทุน มีมติสนับสนุนโครงการให้ผู้รับทุน ในเดือน ก.ย. (กำลังจะหมดปีงบประมาณ) ได้ม๊ัย คำตอบ คือได้ เพราะเมื่อมีการสนับสนุนโครงการแล้วจะมีการโอนเงินทั้งหมดแก่บัญชีผู้รับทุน เป็นการตัดขาดบัญชี
หรือแม้แต่กรณีของ ต้นปีงบประมาณมีเงินสะสมในกองทุน ....คณะกรรมการกองทุน...สามารถพิจารณาอนุมัติโครงการได้เลย ไม่ต้องรอให้มีการจัดสรรเงินจาก สปสช.หรือการสมทบของ อปท.
2.3 การไม่สนับสนุนงบประมาณที่ไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณปกติ คณะกรรมการอย่ากังวลเรื่องซ้ำซ้อนมากนัก เพราะหลายกองทุนฯ มักกังวล เรียนให้ทราบว่า หากจะพิจารณาว่าซ้ำซ้อนจะดูอะไร หลักๆคือ กรณี รพ.สต.ขอรับทุน หากโครงการหรือกิจกรรมทำงานเชิงรุก เช่น ลงชุมชน ลงเยี่ยมบ้าน หรือทำกิจกรรมเชิงรุก เหล่านี้ทำได้เลย ไม่ต้องกลัวความซ้ำซ้อน
2.4 การพิจารณาความฟุ่มเฟือย ไม่เหมาะสม ไม่เป็นภาระกับกองทุน มีอะไรบ้าง
1)การแจกของถ้วนหน้า **หรือให้รางวัลเป็นเงิน ไม่มีหลักเกณฑ์อะไรเลย กรณีศึกษา ผู้รับทุนแจกร่มกับผู้มาร่วมกิจกรรม มีการประกวดแล้วเงินส่วนใหญ่จ่ายเป็นเงินรางวัลในการประกวด
**2)การศึกษาดูงานเพียงอย่างเดียว
ไม่เห็นกระบวนการทำงานต่อเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรค แต่หากโครงการมีลักษณะที่เห็นกระบวนการทำงานต่อภายหลังดูงาน แบบนี้ทำได้ มีกรณีศึกษาสำคัญ ชมรมผู้สูงอายุขอรับงบดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน กิจกรรมสำคัญของโครงการ คือ การไปดูงานเพียงอย่างเดียว งบประมาณ 70,000 บาท (ลักษณะแบบนี้ไม่เหมาะสม)
แต่อีกกรณี โรงเรียนดำเนินโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะระดับครัวเรือนเพื่อลดโรค มีกิจกรรมสำคัญ คือ การแลกเปลี่ยนธนาคารขยะต้นแบบ (ดูงาน) กลวิธี คือ การนำเอาคณะทำงานหรือแกนนำ ไปดูงานโรงเรียนต้นแบบอีกอำเภอหนึ่งใกล้ๆ กลับมามีกิจกรรมจัดตั้งธนาคารขยะ การฝากขยะ การให้ความรู้วิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง การคืนข้อมูล เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวข้างต้นมิต้องห้ามสนับสนุน
3) การฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว กองทุนมิได้มีวัตถุประสงค์เพียงพัฒนาความรู้เพียงอย่างเดียว การฝึกอบรมไม่ควรมีเพียงอย่างเดียว
4) การจัดซื้อครุภัณฑ์หรือ ของเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถขอรับจากกองทุนได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า เงินกองทุนมีหน้าที่ 2 เรื่อง คือ บริการสาธารณสุข และกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริม ป้องกันโรค  ต้องบอกก่อนว่า จะทำกิจกรรมอะไร ทำอย่างไร และงบประมาณที่ใช้ประกอบด้วยเงินค่าอะไรบ้าง หากจำเป็นต้องใช้ครุภัณฑ์ หรือของอะไรก็เขียนไปในโครงการ ดังนั้น ประเภทที่จะเขียนโครงการขอซื้อเครื่องวัดความดัน หรือ เครื่องออกกำลังกาย หรือเครื่องพ่นหมอกควัน มันมิใช่โครงการดำเนินกิจกรรม แต่เป็นแค่การซื้อของเท่านั้น

Relate topics

Comment #1
Posted @21 ม.ค. 62 10:45 ip : 125...60

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแ่งชาติ พ.ศ.2561 หมวด 3 ค่าตอบแทนการประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ 7 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของ อปท.ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน ในกรณ๊เราจ้างลูกจ้างด้วยเงินกองทุน (จ้างเหมาบริการรายเดือน) ในกรณีนี้สามารถทำเบิกค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างรายนี้ได้หรือไม่ (ในคำสั่งจะเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่กองทุน)