กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

อปท.กับการโครงการแก้ปัญหาสายตาเด็ก

by twoseadj @9 ม.ค. 65 08:53 ( IP : 171...75 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 1000x666 pixel , 124,432 bytes.

ด้วยที่ผ่านมา พบว่า สายตาและการมองเห็นถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ พัฒนาการทางสมอง บุคลิกภาพ ตลอดจนถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะเด็กอนุบาลและประถมศึกษา อายุ 3-12  ปี เด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติและไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการศึกษาและโอกาสในการทำงานในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ของตนเอง ครอบครัว และคนในสังคมด้วยเช่นกัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึงกำหนดให้การคัดกรอง การวินิจฉัย และแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการสวมแว่นตา เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับเด็ก 3-12 ปี และสอดคล้องกับประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 โดยการดำเนินงานดังกล่าว มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และสอดรับกับความต้องการชุมชนในพื้นที่

ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยบุคคลในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง    จึงจัดทำโครงการคัดกรองและรับส่งเด็กที่มีสายตาผิดปกติ  เพื่อขอการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่

โครงการนี้เป็นหนึ่งใน "โครงการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค ในกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่" ตามนโยบายเพิ่มการเข้าถึงบริการ สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2565 มีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สปสช. ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ร่วมกันดำเนินการ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับเด็กไทยทุกคนที่มีสายตาผิดปกติ

หน่วยงานที่สามารถเขียนโครงการ ประกอบด้วย  1.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล หรือ 2.องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล
กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) นักเรียนระดับอนุบาล 5-6 ปี ประถมศึกษาศึกษาปีที่ 1 ทุกคน หรือ นักเรียนอื่นชั้นอื่นที่มีภาวะผิดปกติของการมองเห็น เช่น หรี่ตา มองไม่เห็น หรือผิดปกติทางสายตา
                        2) คัดกรองเบื้องต้นด้วย จนท.สาธารณสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อตรวจระดับหาระดับองศาวิสัยมองเห็นค่า  VA มากกว่า (20/50)
                        3) ส่งนักเรียนที่มีปัญหา ไปตรวจยืนยันโดยจักษุแพทย์ หรือ นักทัศนมาตร (โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด)
หมายเหตุ กิจกรรม 1-3 สามารถใช้เงินจากกองทุนสุขภาพตำบลในพื้นที่
                        4) ตัดแว่นตา โดย รพ.ดังกล่าว และ ป้อนข้อมูลเบิกเงิน จาก สปสช.( e-claim  Stock lense =800 บาท และ lab lense= 1000 บาท) อปท.ไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าแว่นตาและการตรวจตาโดยแพทย์ หรือนักทัศนมาตร