กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางใช้เงิน 10(5) ตามประกาศ ฉ.3

by twoseadj @2 เม.ย. 63 11:46 ( IP : 171...167 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 799x446 pixel , 77,184 bytes.

ตามที่มีกรณีการระบาดของโควิด 19 นั้น กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ มีบทบาทสำคัญเพื่อการแก้ปัญหาการระบาดโรคโควิด-19 แนวทางตามประกาศฯ ฉ.61 หรือ ฉบับที่ 1 นั้นตามข้อ 10 ให้คณะกรรมการกองทุนฯอนุมัติโครงการแก้ปัญหาโรคระบาดหรือภัยพิบัติ จึงมีหลายกองทุนจะกันงบประมาณและอนุมัติแผนงานหรือโครงการเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาดตั้งแต่ต้นปี ดังนั้น ให้ใช้แนวทางทางปกติ กรณี การจัดทำโครงการก่อนเกิดเหตุ ตามไดอะแกรมที่ 1 ช่องซ้ายมือ

แต่ หากกองทุนฯใดไม่กัน และไม่เคยประชุมคณะกรรมการกองทุนเลย แต่มีโรคระบาดตามกฎหมายโรคติดต่อกำหนด ต้องการนำเงินกองทุนไปแก้ปัญหา ประกาศฯ ฉบับ 3 แก้ไขให้ เพิ่มอำนาจประธานกองทุนสุขภาพตำบล ในการอนุมัติโครงการเผชิญและแก้ปัญหาสาธารณสุขจากโรคระบาด ให้สามารถอนุมัติโครงการเลย ไม่ต้องเรียกประชุมคณะกรรมการ เงื่อนไขคือ เป็นการแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้น จึงค่อยนำเสนอคณะกรรมการภายหลังได้

โครงการฯหากดำเนินการตามแนวทางประกาศฯ ฉ.3 นี้ ประธานกองทุนฯอนุมัติได้ไม่เกิน 100,000 บาท/โครงการ  นอกจากนี้หากมีโครงการเกี่ยวกับการการแก้ปัญหาโรคระบาดตามกฎหมายโรคติดต่อกำหนดโดยผู้รับเงินหรือคนเขียนโครงการ ประเภท 10(1) (2) และ (3) ประธานกองทุนย่อมมีอำนาจอนุมัติตามประกาศฯ ฉ. 3 เช่นเดียวกัน

มีข้อสงสัยและถามกันมากจากหลายกองทุนฯ คือ
1.กองทุนสุขภาพตำบล ทำโครงการได้มั้ย ?
ตอบ คือต้องให้หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความพร้อม เป็นคนเขียนโครงการ เมื่ออนุมัติแล้วโอนขาดจากบัญชีกองทุนฯเข้าบัญชีหน่วยงานหรือองค์กร ดังนั้นกองทุนฯไม่เป็นหน่วยงาน ย่อมไม่สามารถดำเนินการได้ในฐานะผู้รับทุน
2.ครุภัณฑ์ในประเภท จำกัดวงเงินมั้ย ?
ตอบ ประเภท 5 ครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการแก้ปัญหาสาธารณสุขจากโรระบาดหรือภัยพิบัติ ไม่จำกัดวงเงิน 10,000 บาท/โครงการ อย่าสับสนกับโครงการประเภท (2)

Comment #1
Posted @19 ต.ค. 63 16:14 ip : 1...153

แสดงว่าประเภท 5 ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อ ชมรม อสม.สามารถซื้อได้เกิน10,000 ใช่มั้ยครับ กองทุนที่ผมทำอยู่อนุมัติไปแบบนั้นเรียบร้อยแล้ว แต่มีบางแห่งบอกว่าถ้า(2)ขอมา ซื้อเกินไม่ได้  ก็เลย งงๆ