กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางการทำงานกองทุนสุขภาพ ปี 64

by twoseadj @8 พ.ค. 63 09:46 ( IP : 122...12 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1000x560 pixel , 77,403 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 80,830 bytes.
  • photo  , 1000x566 pixel , 92,539 bytes.
  • photo  , 1000x567 pixel , 84,689 bytes.

แนวโน้มการบริหารกองทุนสุขภาพตำบล ระดับประเทศ น่าจะมีการใช้จ่ายเงินสะสม เหลือไม่เกิน 4,000 ล้านบาท ยังคงใช้ประกาศ ข้อ 23 คือ ไม่จัดสรรแก่กองทุนสุขภาพตำบลที่มีการเหลือไม่เกิน 2 เท่า การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส-19 ส่งผลให้ อปท.มีการใช้จ่ายเงินกองทุนสุขภาพตำบลในการแก้ปัญหามากขึ้น

ภาพรวมการบริหารกองทุนฯที่ อปท.เป็นผู้ดำเนินงานนั้น ปี 64 มีการเปลี่ยนแปลง คือ กองทุนดูแลระยะยาวผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จะไม่มีการจัดสรรเงินค่าบริการสาธารณสุข จำนวน 100,000 บาท แก่ CUP หรือ คู่สัญญาปฐมภูมิแล้ว แต่จะสนับสนุนให้ อปท.เป็น 6,000 บาท/ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 1 ราย ส่วนกองทุนสุขภาพตำบล ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการจัดสรรแต่อย่างใด ส่วนกองทุนฟื้นฟูคนพิการระดับจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกองทุนดังกล่าว จะมีจัดสรรให้ 5 บาท/หัว ปชก.  เพิ่มการออกแบบและจ่าย intermediate care:IMC

เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 64 คือ การเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างอัตตลักษณ์การจัดบริการสุขภาพชุมชนโดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการ การควบคุมป้องกัน NCDs การเข้าถึงบริการสุขภาพเด็ก การดูแลผู้สูงอายุ และการแก้ปัญหาของสุขภาพตามประเด็นของพื้นที่

การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร เน้น
1.พัฒนาความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์
2.ถอดบทเรียนและจัดการองค์ความรู้
3.พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของกลไกในระดับพื้นที่
4.สร้างอัตลักษณ์การจัดการสุขภาพชุมชนร่วมกับ อปท. 5.การประเมินผลการดำเนินงานกองทุน
6.การพัฒนาโปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบล

การจัดสรรเงินกองทุนสุขภาพตำบล ปี 64 คาดการณ์จะมีกองทุนเข้าข่ายไม่ได้รับจัดสรร 509 แห่ง เขต 12 สงขลา ประมาณ 59 แห่ง คืนเงินให้ส่วนกลาง ประมาณ 21 ล้านบาท ซึ่งเขตสามารถปรับเกลี่ยแบบ global budget สำหรับกองทุนที่มีผลงานดี และสมทบเกินตามที่ประกาศฯกำหนด